การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA ระหว่างเจ้าหน้าที่และเก็บด้วยตนเองในจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • กุลกานต์ พิศอ่อน โรงพยาบาลกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส , การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก , การเก็บสิ่งส่งตรวจทางช่องคลอดด้วยตัวเอง

บทคัดย่อ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี HPV DNA test โดยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ผู้หญิงไทยเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้ง่ายขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test  ระหว่างเจ้าหน้าที่ และการเก็บด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลเวชระเบียนของกลลุ่มตัวอย่างที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2566  จำนวน 16,104  คน โดยเป็นกลุ่มที่เก็บสิ่งส่งตรวจโดยเจ้าหน้าที่ 15,109 ราย และเก็บด้วยตนเอง 995 ราย  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจ HPV DNA testing (HPV-16 และ/หรือ HPV-18 หรือ HPV อื่น ๆ) และผลการตรวจ Colposcopy วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์

 ผลการศึกษา: พบว่า ผู้รับบริการมีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี ตรวจพบเชื้อ HPV 908 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.64  เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ระหว่างเจ้าหน้าที่เก็บจำนวน 15,109 คน และการเก็บด้วยตนเองจำนวน 995 คน ใช้การทดสอบของฟิชเชอร์ พบว่าการเก็บสิ่งส่งตรวจทั้ง 2 วิธี สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 1.00) โดยวิธีเก็บด้วยเจ้าหน้าที่รายงานผลได้ร้อยละ 99.94 ส่วนการเก็บด้วยตนเองรายงานผลได้ร้อยละ 100 นอกจากนี้ใช้การทดสอบไคสแควร์เปรียบเทียบผลการตรวจ HPV DNA test พบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 0.684) โดยตรวจพบผลเป็นบวกร้อยละ 5.62 และ 5.93 ตามลำดับ และผู้ที่ผลการตรวจ HPV DNA test เป็นบวก มีผล Colposcopy ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 0.362) โดยตรวจพบผลเป็นบวกร้อยละ 65.54 และ 76.47 ตามลำดับแสดงให้เห็นว่า การเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตัวเองมีประสิทธิภาพเพียงพอในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี HPV DNA test เทียบเท่าเจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายของกรมอนามัยในการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้สำเร็จตามเป้าหมาย

References

Kengsakul M, Laowahutanont P, Wilailak S. Experiences in the prevention and screening of cervical cancer within Thailand. Int J Gynaecol Obstet 2021;152:48-52. doi: 10.1002/ijgo.13481.

World Health Organization. The Global Cancer Observatory: Thailand [Internet]. 2022 [cited 2024 Feb 19]. Available from: https://gco.iarc.who.int/media/globocan/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheet.pdf

Phoolcharoen N, Kantathavorn N, Krisorakun W, Taepisitpong C, Krongthong W, Saeloo S. Acceptability of self-sample human papillomavirus testing among Thai women visiting a colposcopy clinic. J Community Health 2018;43:611-5. doi: 10.1007/s10900-017-0460-2.

Choowongkomon K, Choengpanya K, Pientong C, Ekalaksananan T, Talawat S, Srathong P, et al. The Inhibitory Effect of KerraTM, KSTM, and MinozaTM on Human Papillomavirus Infection and Cervical Cancer. Medicina (Kaunas) 2023;59:2169. doi: 10.3390/medicina59122169.

Roa JC, Garcia P, Gomez J, Fernández W, Gaete F, Espinoza A, Lepetic A, et al. HPV genotyping from invasive cervical cancer in Chile. Int J Gynaecol Obstet 2009;105:150-3. doi: 10.1016/j.ijgo.2008.12.017.

Nakowong P, Chatchawal P, Chaibun T, Boonapatcharoen N, Promptmas C, Buajeeb W, et al. Detection of high-risk HPV 16 genotypes in cervical cancers using isothermal DNA amplification with electrochemical genosensor. Talanta 2023;269:125495. doi: 10.1016/j.talanta.2023.125495.

Engesæter B, van Diermen Hidle B, Hansen M, Moltu P, Staby KM, Borchgrevink-Persen S, et al. Quality assurance of human papillomavirus (HPV) testing in the implementation of HPV primary screening in Norway: an inter-laboratory reproducibility study. BMC Infect Dis 2016;16:698. doi: 10.1186/s12879-016-2028-7.

ธิดารัตน์ มละสาร. ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าของสตรี ในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2022;7:114–22.

Oranratanaphan S, Amatyakul P, Iramaneerat K, Srithipayawan S. Knowledge, attitudes and practices about the pap smear among medical workers in Naresuan University Hospital, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2010;11:1727-30.

Phoolcharoen N, Kantathavorn N, Krisorakun W, Sricharunrat T, Teerayathanakul N, Taepisitpong C, et al. Agreement of self- and physician-collected samples for detection of high-risk human papillomavirus infections in women attending a colposcopy clinic in Thailand. BMC Res Notes 2018;11:136. doi: 10.1186/s13104-018-3241-9.

Kositamongkol C, Kanchanasurakit S, Mepramoon E, Talungchit P, Chaopotong P, Kengkla K, et al. Cost-utility and budget impact analyses of cervical cancer screening using self-collected samples for HPV DNA testing in Thailand. BMC Public Health 2023;23:2413. doi: 10.1186/s12889-023-17358-0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29