การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • นาถฤดี สุลีสถิร โรงพยาบาลยโสธร จ.ยโสธร
  • กลอยใจ แสนวงษ์ โรงพยาบาลยโสธร จ.ยโสธร
  • บงกชรัตน์ ยานะรมย์ โรงพยาบาลยโสธร จ.ยโสธร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ , ผู้ป่วยระยะสุดท้าย , การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2565 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 60 คน โดยระยะที่ 1 จำนวน 20 คน ระยะที่ 2-3 จำนวน 60 คน และผู้ป่วย30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) คำถามการสนทนากลุ่ม 2) รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยฯ คือ “YASO-PCN-CARE Model” เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ 1) ประเมินการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร 3) แบบสอบถามความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำไปทดลองใช้ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.81, 0.79, 0.83 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบใช้สถิติ  Pair t test

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง คือ  “YASO-PCN-CARE Model” ประกอบด้วย จัดโครงสร้าง วางเป้าหมาย ดูแลแบบองค์รวม ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีแนวทางปฏิบัติ สร้างช่องทางสื่อสาร ทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่าย นิเทศทางคลินิก วางแผนดูแล แบ่งปันทรัพยากร ตรวจสอบทบทวน ประเมินผลและพัฒนา และ 2) ผลของรูปแบบ พบว่า  (1) ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมในระดับสูง (Mean=4.75, S.D.=0.45)  (2) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยฯ หลังดำเนินการอยู่ในระดับสูงมาก (Mean=4.68, S.D.=0.14)  สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) ความพึงพอใจของครอบครัวมีต่อรูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.37,  S.D. = 0.54) (4) พฤติกรรมการปฏิบัติตามรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.41, S.D. =.54) และ (5) Family meeting และ Advance care planning หลังใช้ ร้อยละ 100

สรุป: รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ง่ายต่อการปฏิบัติ บุคลากรมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ

References

กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2023&source=pformated/format1.php&id=a67ee74a4c0ff3c775b591be4ec80086

ชุติกาญจน์ หฤทัย, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, โศภิษฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. นนทบุรี: สื่อตะวัน; 2559.

วินัย สวัสดิวร. เครือข่ายดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารก้าวใหม่หลักประกันสุขภาพ 2558;8:1-2.

World Health Organization. Planning and implementing palliative care services: A guide for program managers [Internet]. 2016 [cited 2022 May 25]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/250584/9789241565417-eng.pdf?sequence=1

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญ; 2559.

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน; 2559.

พิกุล นันทชัยพันธ์, ประทุม สร้อยวงค์. แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยผู้ใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สภาการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ; 2558.

Donabedian A. An Introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.

ศศิวิมล ปานุราช, เยาวรัตน์ มัชฌิม, บวรลักษณ์ ทองทวี. ความรู้ในการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลในพื้นที่เครือข่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขตบริการที่ 4 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, การประชุมวิชาการระดับชาติ มศว วิจัยครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561. หน้า 1070-82.

ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศโรงพยาบาลยโสธร. รายงานสถิติข้อมูลผู้ป่วยประจำปี. โรงพยาบาลยโสธร: ยโสธร; 2565.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2561.

สมจิตร ประภากร, ศิริพร สวยพริ้ง, อัญชลี สุขขัง, ศุภรักษ์ มั่นน้อย, วราภรณ์ พันธุ์อร่าม, สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. วารสารกองการพยาบาล 2558;42:50-66.

Stewart K, Doody O, Bailey M, & Moran S. Improving the quality of nursing documentation in a palliative care setting: A quality improvement initiative. International Journal of Palliative Nursing 2017;23:577-85.

มัณฑนา, จิระกังวาน, ศิริรัตน์ จันตรี. การพัฒนาการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบบูรณาการไร้รอยต่อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา 2561;19:70-83.

จอนผะจง เพ็งจาด. บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี กรุงเทพ 2557;30:100-7.

ละเอียด แจ่มจันทร์, สายสมร เฉลยกิตติ. แนวโน้มการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;8:22-8.

ศิริเพ็ญ ชั้นประเสริฐ, ทัศนีย์ เชื่อมทอง, สุปรานี ศรีพลาวงษ์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33:326-39.

อัมภา ศรารัชต์. คุณภาพและการรับรองคุณภาพการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล 2557;41: 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29