การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิพพาภัทร์ สินทรัพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 , การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

โรคเบาหวาน เป็นโรคเกิดจากการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติทำให้ร่างกายเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  ซึ่งมีผลมาจากการขาดอินซูลิน หรืออาจเกิดจากความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลินที่อยู่ในตับอ่อนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย  พยาบาลผู้ปฏิบัติหน้าที่งานผู้ป่วยนอกจะต้องใช้องค์ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลตนเอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการดำเนินของโรค กระบวนการรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 2 ราย  ที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวานและดำเนินการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน  (กันยายน 2565 – มีนาคม 2666)

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน 2 ราย เพศชาย อายุ 44 ปี และ 69 ปี ได้รับการประเมินอย่างเป็นองค์รวม (Primary and secondary triage) รายแรกเป็นเบาหวานมา 3 ปี ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีภาวะไตรั่ว ได้รับการรักษานอนโรงพยาบาล ในรายกรณีที่ 2 เป็นเบาหวานมา 15 ปี มีภาวะน้ำตาลต่ำตอนกลางคืนติดต่อกัน  ได้รับการปรับยาฉีดเบาหวาน ปัญหาการพยาบาลแบ่งเป็น ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย ผลลัพธ์ที่ได้จากการดูแลผู้ป่วย ทั้งสองราย พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลที่เหมาะสม  ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคเรื้อรังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการตนเองเพื่อควบคุมและจัดการอาการ รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังได้

References

World Health Organization (WHO). Diabetes [Internet].2023 [cited 31 ส.ค. 2566] เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/health-topics/diabetes?gclid=Cj0KCQiA4NWrBhD-ARIsAFCKwWsw2Nvy6n_U57N6nRFBe4zpfLIcQwBRIZrj5GWoX1_CBBtVdprBKSEaApoWEALw_wcB#tab=tab_1.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค: อิโมชั่น อาร์ต; 2561.

สมาคมผู้ให้ความรู้โคเบาหวาน. Holistic Diabetes Management. เริ้ดดี้ ดีไซด์ เฟิร์ม: กรุงเทพฯ; 2566.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี. แนวปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย; 2566.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติทั่วไปโรคไตโกลเมอรูลัสในผู้ใหญ่ โรค Primary Focal Segmenta Glomerulosclerosis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2561.

Kolb L. An effective model of diabetes care and education: the ADCES7 Self-Care BehaviorsTM [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 3] เข้าถึงได้จาก: doi:10.1177/0145721720978154.

World Health Organization. Toolkit for delivering the 5A's and 5R's brief tobacco interventions in primary care. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2014. Holloway M. Nursing the Critically ILL Adult. California: Addison-Wesley; 1979.

ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอด. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย; 2557.

ประสาร เปรมะสกุล. คู่มือแปลผล Lab ตรวจเลือด เล่มแรก. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2562.

DSMES (Diabetes Self-Management Education and Support). กรุงเทพฯ: สมาคมมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน; 2566.

คณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2565.

Kidney International. KDIGO 2022 clinical practice guideline for diabetes management in chronic kidney disease. Official Journal of the International Society of Nephrology 2022:102;S1-S127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25