ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดอาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรี เกิดแก้วมณี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กันติชา ตรีเมฆ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธิติญาดา คิดกล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุทธิดา สายปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุพรรษา บัวผาย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุปรียา แสงจักรวาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • วรภรณ์ บุญจีม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

อาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน, ปัจจัย, นักศึกษา

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือนเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์  ซึ่งกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นวัยที่มีภาวะความเครียดจากการเรียน และการปรับตัวจึงทำให้พบอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดอาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทุกคณะ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 386 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการดูแลตนเอง แบบสอบถามการรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือน แบบสอบถามการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือน และแบบสอบถามการลดอาการไม่พึงประสงค์ ก่อนการมีประจำเดือน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ .83, .71, .84, .85 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ  Chi-square test และ Spearman’s rank correlation coefficient การศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและระดับชั้นปีมีความสัมพันธ์กับการลดอาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2 = 24.37, p= .004; c2 = 31.77, p=.00 ตามลำดับ) และปัจจัยด้านการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการลดอาการไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.254, p < .01) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ เพื่อช่วยป้องกันภาวะไม่พึงประสงค์ก่อนการมีประจำเดือน

References

Gnanasambanthan S, Datta, S. Premenstrual syndrome. Obstetrics, Gynaecology & Reproductive Medicine 2019;29:281-5.

Ryu A, Kim TH. Premenstrual syndrome: A mini review. Maturitas 2015;82:436-40.

Hofmeister S, Bodden S. Premenstrual syndrome and premenstrual dysphoric disorder. American family physician 2016;94:236-40.

Jane M, Julie B, Patrick MS, Wyatt K. Selective serotonin reuptake inhibitors for premenstrual syndrome. Cochrane 2013;6.

Nworie KM. Premenstrual syndrome: etiology, diagnosis and treatment. A mini literature review. Obstetrics and Gynecological investigations 2018;1:41-6.

ปาณิศา ฮันตระกูล, วรชร ลัทธิวงศกร. Premenstrual syndrome and Premenstrual dysphoric disorder [internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6891/

สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, ภารดี ชาญสมร, ยุพา พูนขำ, ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, สุวชัย อินทรประเสริฐ, กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง. การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.

วารุณี มีมุ่งบุญ. การศึกษาความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2562.

Tolossa FW, Bekele, ML. Prevalence, impacts and medical management of premenstrual syndrome among female students: cross sectional study in College of Health Sciences, Mekelle University, Mekelle, nothern Ethiopia. BMC Women Health 2014;14:53-62.

Rad M, Sabzevary MT, Dehnavi ZM. Factors associated with premenstrual syndrome in female high school students. Journal of education and health promotion 2018;7:64.

Seedhom AE, Mohammed ES, Mahfouz EM. Life style factors associated with premenstrual syndrome among El-Minia University Students, Egypt. International Scholarly Research Notices 2013.

วิชยา เห็นแก้ว, จรวยพร ใจสิทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในนักศึกษาพยาบาลสตรี. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19:299-310.

สมรัก ครองยุทธ และ เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือนในสตรีวัยรุ่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14:378-81.

Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher ES, Humphreys J. Advancing the science of symptom management. Journal of advanced nursing 2001;33:668-76.

นิรัชรา จ้อยชู, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. วารสารวิจัยและนัวตกรรมทางการพยาบาล 2557;20:236-48

จเกศบุญชู เกษมพิพัฒน์พงศ์, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24:41-9

วิลาวัลย์ รัตนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรริโรฒ; 2553.

ธนภรณ์ จํารูญจารีต, อรณัฐ อัตวรอนันต, พิมพ์พิชญาดา มาพงศ์, ปริณดา เฉลิมถิรเลิศ, รินทร์ลิตา ชัยประสพวงศ์, พิสิษฐ์ อยู่ใจเย็น, กรดนัย ตรีรัตนกุลจรัส, ศุจิมน มังคลรังษี. การรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566;9:100-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26