ผลของการฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ต่อความมั่นใจในตนเองและความพึงพอใจในการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิค การพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ปิยะพร พรหมแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธมลวรรณ แก้วกระจก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดาลิมา สำแดงสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สถานการณ์จำลองเสมือนจริง , ความมั่นใจในตนเอง , ความพึงพอใจ , การฝึกปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกปฏิบัติ ระดับความพึงพอใจ และระดับความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลหลังการฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง 3) แบบสอบถามความมั่นใจในตนเอง 4) คำถามปลายเปิดปัญหา อุปสรรค ในการฝึกปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ พฤศจิกายน 2565 – มิถุนายน 2566 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวม (M = 3.96, SD = 0.66) และรายด้าน โดยเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านผู้สอน ด้านเนื้อหา และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 2) ระดับความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลหลังการฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (M = 8.17, SD = 1.39) แสดงให้เห็นว่าการฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงมีประสิทธิภาพควรให้ใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงเพิ่มขึ้นจากการฝึกปฏิบัติในคลินิก

 

References

บุญเลี้ยง ทุมทอง, ประทวน วันนิจ. ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย:การศึกษาทางเลือก คือทางหลักและทางรอดในการจัดระบบการศึกษาไทยในอนาคต. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2565;22:376-91.

ทัศนี แขมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

อารี ชีวเกษมสุข. การบันทึกทางการพยาบาลในยุคความปกติใหม่. วารสารแพทย์นาวี 2564;48:184-98.

ดวงกมล หน่อแก้ว. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงทางพยาบาลศาสตร์ศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;31:112–2.

มยุรี ยีปาโล๊ะ, พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์, จงกรม ทองจันทร์, กมลวรรณ สุวรรณ, กฤษณา เฉลียวศักดิ์. ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18:128–34.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, วราภรณ์ สัตยวงศ์, จุฑามาศ รัตนอัมภา, ภาวดี เหมทานนท์, วิไลพร รังควัต. ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงร่วมกับการส่งเสริมทักษะ การสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิด และความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25:57–71.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, รัชนี พจนา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ต่อความรู้ ความมั่นใจ และความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;29:1062-72.

Morris TH. 'Experiential learning – a systematic review and revision of Kolb’s model. Interactive Learning Environments 2020;28:1064-77.

Kose S, Sahin A, Ergun A, and Gezer K. The effects of cooperative learning experience on eighth grade students' achievement and attitude toward science. Education 2010;131:169-80.

Jeffries PR. Getting in S.T.E.P. with simulations: simulations take educator preparation. Nurs Educ Perspect 2008;29:70-3. doi: 10.1097/00024776-200803000-00006.

ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. การสอนโดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติหลักการ และเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;9:70–84.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย. 2553.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. การจัดการเรียนรู้โดยการใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559;28:1–14.

Saied H. The Impact of simulation on pediatric nursing students’ knowledge, self-efficacy, satisfaction, and confidence. Journal of Education and Practice 2017;8:95-102.

สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจำ ลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและความพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ใน: การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 14” 50 ปี มหาวิทยาลัยมหาสารคามผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน; วันที่ 6-7 กันยายน 2561; ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย; 2563. หน้า 600-9.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18:29-38.

Olaussen C, Heggdal K, & Raaen TC. Elements in scenario‐based simulation associated with nursing students' self‐confidence and satisfaction: A cross‐sectional study. Nursing Open 2020;7:170–179.

ปนิดา พุ่มพุทธ, ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลก่อนการฝึกภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2565;5:37-46.

Cordeau MA. Teaching holistic nursing using clinical simulation: A pedagogical essay. Journal of Nursing Education and Practice 2013;3:40-50.

Doody O, Condon M. Using a simulated environment to support students learning clinical skills. Nursing Education and Practice 2013;13:561-6.

Saied H. The impact of simulation on pediatric nursing students’ knowledge, self-efficacy, satisfaction, and confidence. Journal of Education and Practice 2017; 8:95-102.

Mota B M, Alarcon JOA, Cavalcante TL, Ramos F S, Diniz SOS. Realistic simulation: satisfaction and self-confidence of nursing students. Revista Enfermagem Digital Cuidado Promocao da Saude 2023;8:01-08.

Archer JC. State of the science in health professional education: Effective feedback. Med Education 2010;44:101-8.

Shattla IS, Sabola E N, Shereda MAH, Latif A R, Abed A G. Impact of clinical simulation on student's levels of motivation, satisfaction and self-confidence in learning psychiatric mental health nursing. International Journal of Special Education 2022;37:6214-28.

MacKinnon K, Marcellus L, Rivers J, Gordon C, Ryan M, Butcher D. Student and educator experiences of maternal-child simulation-based learning: a systematic review of qualitative evidence. JBI Database System Rev Implement Rep 2017;15:2666-706.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20