ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กต่อความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครอง และพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ณรรจพร สิงห์สวัสดิ์ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี
  • นัยนา ภูลม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤษฎาภรณ์ ลบบำรุง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กิ่งทิพย์ ผาสุขถ้อย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พัฒนาการ, กล้ามเนื้อมัดเล็ก , เด็กปฐมวัย , การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้าพบได้บ่อยในเด็กปฐมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ พฤติกรรมและความฉลาดทางสติปัญญา การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมในชั้นเรียน แต่ขาดความต่อเนื่องที่บ้าน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครอง และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 4-5 ปี ที่มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กสงสัยล่าช้าจากการคัดกรองโดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM) จำนวน 20 คน และผู้ปกครองยินยอมเข้าร่วมกิจกรรม โปรแกรมประกอบด้วย 5 กิจกรรม ทำครั้งละ 20 นาทีที่บ้าน ภายในเวลา 1 เดือน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินพัฒนาการ DSPM 2) โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  3) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 4) แบบทดสอบการส่งเสริมความรู้พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของผู้ปกครอง และ 5) แบบทดสอบทัศนคติในการส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครอง และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้วยสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรม ค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครอง และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) สรุปได้ว่าผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สามารถเพิ่มความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองและส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กปฐมวัยได้

References

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ภาคราชการกลุ่มกระทรวงคณะที่ 2. รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=10104

Franklin Q, Prows CA, Developmental and genetic influences on child health promotion [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 16 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// repository.poltekkeskaltim.ac.id/638/1/Wong%E2%80%99s%20Essentials%20of%20Pediatric%20Nursing%20by%20Marilyn%20J.%20Hockenberry%20Cheryl%20C.%20Rodgers%20David%20M.%20Wilson%20(z-lib.org).pdf

ทองใบ สวัสดิ์ผล. การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ส่งผลต่อการเขียน ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนการกุศลวัดบ้านก่อ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2561: พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ หนังสือและรายงานวิจัย [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2019/01/472-ThaiHealth2018-TH_compressed.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM) นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.

ศิวิไล กระจับเงิน. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ด้วยการ ปั้นนูนเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2562;2:171-80.

อรทัย นามขาว, อนุกูล จินตรักษ์. การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2565;16:198-208.

นุชจณี อู่ทอง, อัฐณีญา สัจจะพัฒนกุล. การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมการฉีก และการปะ. การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษาครั้งที่ 2: 15 มี.ค. 2565; มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2565.

Fan X, Chen M. Parental involvement and students' academic achievement: A meta-analysis. Educational Psychology Review 2001;13:1-22.

Kovács K, Kovács KE, Bacskai K, Békési Z, Oláh ÁJ, Pusztai G. The effects and types of parental involvement in school-based sport and health programs still represent a knowledge gap: A systematic review. IJERPH 2022;19:128-59.

วณิตา ขวัญสำราญ. บทบาทของพยาบาลกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กปากแหว่งเพดาน โหว่. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2015;23:14-25.

พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น, นิชนันท์ อินสา, อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, รัชดาวรรณ บุญมีจิว และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยเขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสาร วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2021;14:42-56.

นัยนา ภูลม, จินตนา วัชสินธุ์, นุจรี ไชยมงคล. นิเวศวิทยาครอบครัว: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กวัย เตาะแตะ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2016;22:18-36.

สิทธิพงศ์ ปาปะกัง. บทบาทของผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือ DSPM. วารสาร โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2022;19:176-85.

มธุวดี อิงศิโรรัตน์. ความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการออทิซึมในโรงพยาบาล อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2018;26:108-18.

สิทธิพรร์ สุนทร, วัชรินทร์ สุทธิศัย, พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส, รัชนิดา ไสยรส, ภัณฑิลา น้อยเจริญ. แนวคิดและกระบวนทัศน์ในการกำหนดขนาดตัวอย่าง ด้วย G* Power. วารสารสหวิทยาการวิจัย 2562;8(ฉบับพิเศษ):29-39.

ปรารถนา กุศลโกมล, สุรสา จันทนา. การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์ 2565;7:155-64.

มนัสมีน เจะโนะ, รอฮานิ เจะอาแซ. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2566];30:80-8. เข้าถึงได้จากhttps://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/1406

Caterine L, Preschool learning and teaching. New York: Harper and Row; 1972.

Amineh RJ, Asl HD. Review of constructivism and social constructivism. JSSAL [Internet]. 2015 [cited 2023 Mar 15];1:9-16. Available from: https://www.academia.edu/31113252/Review_of_Constructivism_and_Social_ConstruConstru

Breckler SJ, Wiggins EC. On defining attitude and attitude theory: Once more with feeling. In Attitude structure and function. Psychology Press; 2014. P.407-27.

Inson S, Aonkam Y, Ruangrith R. Effectiveness of development promotion and reinforce positive to improve discipline programs base on family participation to children aged 3-5 years. Academic Journal of Mahasarakham ProvincialPublic Health. Office 2021;5:143-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26