ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพของคนพิการในเขตพื้นที่ตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • กรกฎ สระเศษ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิศาชล บุบผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเข้าถึงการบริการสุขภาพ, คนพิการ , โควิด-19

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อประชากรในวงกว้างโดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ อาจเนื่องจากข้อจำกัดในด้านความพิการที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19โดยใช้แนวคิด Theory of access ของ Penchansky and Thomas กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือคนพิการทางการมองเห็นและคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย 99 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการเข้าถึงการบริการสุขภาพของคนพิการในเขตพื้นที่ตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s Alpha Coefficient เท่ากับ 0.76  วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.55 อายุเฉลี่ย 62.10 ปี สถานะภาพสมรส ร้อยละ 45.45 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100 ส่วนมากระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาร้อยละ 81.82 ว่างงาน ร้อยละ 62.60 ส่วนมากเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกายร้อยละ 73.74 ระยะเวลาความพิการโดยเฉลี่ย 21.83 ปี มีโรคประจำตัวร้อยละ 51.52 และยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ร้อยละ 53.54 ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการในเขตพื้นที่ตำบลขามเปี้ย ได้แก่ การติดเชื้อ COVID-19 (gif.latex?\beta = 0.29 ) การมีโรคประจำตัว (gif.latex?\beta = 0.17) การว่างงาน (gif.latex?\beta = -0.26) และการรับรู้เรื่องสิทธิคนพิการ (gif.latex?\beta = - 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนโปรแกรมการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดต่อไป

References

World Health Organization. Disability (WHO). Disability. [Internet], 2021[cited 25 May 2022]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/disability-and-Health

กรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ20 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dep.go.th/images/uploads/ files/situation31mar64.pdf

วราภรณ์ คำนนท์. คุณภาพชีวิตของผู้พิการในอำเภอเทพสถิตจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24:42-53.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD). กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์; 2552.

ธัญชนก ผิวคำ, สุรชัย สุขสกุลชัย. การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้พิการทางสายตาศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2560;3:30-39.

กรมควบคุมโรค. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข; 2563.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://omhc.dmh.go.th/law/files/พรบ.สงเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ-พ.ศ.2550.pdf

Penchansky R. & Thomas JW. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care 1981;19:40-127.

ประภัสสรา พงศ์พันธุ์พิศาล, มนทยา สุนันทิวัฒน์, สมหญิง พุ่มทอง, ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. ผลกระทบด้านสุขภาพจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ต่อผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2565;16:169-182.

Andersen RM. Revisiting the behavioral model & access to medical care: does it

matter?. Journal of Health and Social Behavior 1995;36:1–10.

ปนันดา จันทร์สุกี, นิตินัย รุ่งจินดารัตน์, พีรศักดิ์ จั้วตั้น. ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์; 2560.

พิลือ เขียวแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของคนพิการ[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2553.

ดวงดาว ศรีวุฒิ. การเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้พิการในเขตอำเภอจุน

จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2556.

Polit DF & Beck CT. The Content Validity Index: Are You Know What’s Being Reported? Critique and Recommendations. Research in Nursing & Health 2006;29:1:489-97.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคCOVID-19สู่โรคประจำถิ่น. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Jeste S, Hyde C, Distefano C, Halladay A, Ray S, Porath M, Wilson RB, Thurm A. Changes in access to educational and healthcare services for individuals with intellectual and developmental disabilities during covid-19 restrictions. J Intellect Disabil Res 2020;6:825-33. doi: 10.1111/jir.12776.

Bastani P, Mohammadpour M, Samadbeik M, Bastani M, Rossi-Fedele G, Balasubramanian M. Factors influencing access and utilization of health services among older people during the covid - 19 pandemic: a scoping review. Arch Public Health 2021;79:190.

นิรันดร์ บุญสิงห์. วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับการเข้าถึงบริการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2563;17:62-73.

ญาณี ศิริภัทรโสภณ, อังสนา บุญธรรม, อรนุช ภาชื่น, อุมาวดี เหลาทอง. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้พิการ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารสมาคมนักวิจัย 2562;24:151-162.

Nanthamongkolchai S, Tojeen A, Yodmai K, Suksatan W. factors influencing access to health services among chronically ill older adults with physical disabilities in the era of the covid-19 outbreak. Int J Environ Res Public Health 2022;20:398. doi: 10.3390/ijerph20010398.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21