การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วรางคณา บุตรศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สอาด มุ่งสิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัชรี อำมะเหียะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การจัดการอาหาร , รูปแบบ, ความสามารถในระดับท้องถิ่น , เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ปัญหาภาวะโภชนการเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งที่พบบ่อยของเด็กปฐมวัย หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน คือ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครูโรงเรียนประถมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตัวแทนจาก ภาคประชาชน ประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ 1) การค้นหา (Look) 2) การคิด (Think) และ3) การกระทำ (Act) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เด็กมีปัญหาภาวะโภชนาการ ได้แก่ น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ (10.45 %)  น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (4.54 %) น้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (15 %) สำหรับการบริหารจัดการเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่าหน่วยงานหรือบุคคลที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการให้การสนับสนุน แต่เชื่อมโยงข้อมูลและงบประมาณระหว่างหน่วยงานหรือบุคคลน้อย รวมทั้งสมรรถนะของบุคลากรเกี่ยวกับอาหารและโภชนการสำหรับเด็กปฐมวัยมีน้อย รูปแบบและการใช้การจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นที่ยอมรับ ประกอบด้วย  การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์  การสร้างระบบและกลไกการสื่อสาร ด้านโภชนาการของชุมชนอย่างครบวงจร การสร้างแกนนำด้านโภชนาการระดับครัวเรือนและชุมชน และการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ  การสร้างนโยบายสาธารณะ การบริหารจัดการระบบอาหารและโภชนาการ เพื่อส่งเสริมโภชนาการชุมชน รวมทั้งการจัดทำคู่มือ การอบรมบุคลากรเกี่ยวกับอาหารและโภชนการสำหรับเด็กปฐมวัย จากการศึกษาครั้งนี้เป็นศึกษาการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงาน กลุ่ม และบุคคลในชุมชนที่ได้รูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยสอดคล้องกับพื้นที่ ซึ่งจะใช้แนวทางในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยของพื้นที่ตำบลปทุมอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รัฐบาลจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) เร่งขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://sdgs.nesdc.go.th/รัฐบาลจัดประชุมคณะกรรม/

ธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์, วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ,เสกสิริ นิวัติศัยวงศ์. นโยบายการดูแลเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย; 2560.

สำนักงานสถิติแห่งชาติและองค์การยูนิเซฟ. รายงานฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2562.

อรยา จันทรธิกานนท์ และณัฐชา วัฒนประภา. การศึกษาการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2562.

ทัศนีย์ อรรถารส และเต็มดวง บุญเปี่ยมศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;36:15-26.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2565. สถิติภาวะโภชนาการนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source

Ampansirirat A, & Suwanraj M. Promotion of family and community nutrition using the mother’s food guideline. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla; 2016.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, เกษศิรินทร์ ภู่เพชร, วิกานดา หมัดอะดั้ม, ยุวนิดา อารามรมย์, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, สิรภัทร โสติยาภัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ โดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเขตพื้นที่ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2563;10:161-71.

Stringer ET. Action research 3rd ed. Los Angeles: Sage; 2007.

Crane P, & O’Regan M. On PAR using participatory action research to improve early intervention. Australia: Commonwealth of Australia; 2012.

ศิริวรรณ ชูกำเนิด, อฑิภา อมรปิยภากร, พัชรี รัตนพงษ์, อรอนงค์ รองสวัสดิ์, อับดุลฮาหมัด โส๊ะหน่าย. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ในชุมชนตำบลนาทวีนอก จังหวัดสงขลา. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565; 36:97-113

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22