การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในโรงพยาบาลจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์ โรงพยาบาลนครพนม
  • รฐานิษฐ์ จรัสวรภัทร์ โรงพยาบาลนครพนม
  • ประภัสสร ทองอุทัยศรี โรงพยาบาลนครพนม
  • เกรียงไกร ประเสริฐ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คู่มือการบริหารการพยาบาล, โควิด-19

บทคัดย่อ

สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เป็นความท้าทายหนึ่งของการบริหารการพยาบาลให้เหมาะสม ของโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดนครพนม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 และประเมินผลลัพธ์รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา  เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ศึกษาสถานการณ์ พัฒนาทดลองใช้รูปแบบ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารการพยาบาล 39 คน  ผู้รับผิดชอบงานควบคุมการติดเชื้อ 144 คน พยาบาลประจำการ 433 คน จากโรงพยาบาล 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพร้อมในการบริหารการพยาบาล แนวคำถามสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ หลังจากใช้คู่มือ 3 เดือน ประเมินผลสำเร็จของคู่มือจากความตั้งใจของพยาบาลที่จะให้การพยาบาลด่านหน้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นทั่วไป และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า โรงพยาบาลทั้ง 14 แห่ง ใช้คู่มือที่กระทรวงสาธารณสุขที่ส่งมาให้เป็นระยะๆ ในการให้การพยาบาลต่างๆ  การพัฒนาได้คู่มือเพื่อใช้ในโรงพยาบาลทุกแห่งมีเนื้อหาครอบคลุมการพยาบาล ในระยะก่อนเกิด  ขณะเกิดและหลังเกิดการระบาด มีการออกแบบแผนการพยาบาล 11 เรื่อง ก่อนพัฒนาคู่มือพยาบาล ร้อยละ 88 พบว่าในโรงพยาบาลมีคู่มือการให้การพยาบาล ภายหลังจากการใช้คู่มือพยาบาล ร้อยละ 94 พบว่าเต็มใจที่จะให้บริการด่านหน้า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่ให้การพยาบาลด่านหน้า คือ พยาบาลที่เคยใช้คู่มือ  มีความตั้งใจมากกว่าสองเท่า (PR = 2.13, 95% CI = 1.92-2.36) และพยาบาลที่เคยอาสาทำงานด่านหน้า (PR = 1.09, 95% CI = 1.02-1.17) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีพยาบาลที่เต็มใจที่จะทำงานด่านหน้าเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากคู่มือที่พัฒนาขึ้น 

References

World Health Organization. Coronavirus (COVID-19) dashboard [Internet]. 2563 [cited 2023 Feb 28]. Available from: https://covid19.who.int/

Gholami M, Fawad I, Shadan S, Rowaiee R, Ghanem HA, Hassan Khamis A, et al. Covid-19 and Healthcare Workers: A systematic review and meta-analysis. International Journal of Infectious Diseases 2021;104:335–46.

Papoutsi E, Giannakoulis VG, Ntella V, Pappa S, Katsaounou P. Global burden of covid-19 pandemic on Healthcare Workers. European Respiratory Society [Internet]. 2020 [cited 2023 Feb 4];6:00195-2020. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7335838/

Dzinamarira T, Murewanhema G, Mhango M, Iradukunda PG, Chitungo I, Mashora M, et al. COVID-19 prevalence among healthcare workers. A systematic review and meta-analysis. Int J Environ Res Public Health 2021;19:146. doi: 10.3390/ijerph19010146.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. รายงานถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรค COVID-19 จังหวัดนครพนม [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ28 เม.ย.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://npm.moph.go.th/info_department.php?dp=48

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค แนะประชาชนที่กำลังทยอยเดินทางกลับหลังปีใหม่ ยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=16434&deptcode=brc.

กรมควบคุมโรค. คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment, PPE) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g07_ppe_200463.pdf

Sirijatuphat R, Leelarasamee A, Horthongkham N. Prevalence and factors associated with COVID-19 among healthcare workers at a university hospital in Thailand. Medicine (Baltimore) 2022;101:e30837. doi: 10.1097/MD.0000000000030837.

Prerana S, Khushbu M, Sonali K. Nursing management for Covid 19 pandemics [Internet]. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology. [cited 2023 Feb 9];15(2):583-586. Available from: https://doi.org/10.37506/ijfmt.v15i2.14373

Hossny EK, Morsy SM, Ahmed AM, Asmaa Mohamed Ahmed, Moustafa Saleh MS, Alenezi A, et al. Management of the COVID-19 pandemic: challenges, practices, and organizational support. BMC Nurs 2022;21:196. doi. https://doi.org/10.1186/s12912-022-00972-5

Bartzik M, Aust F & Peifer C. Negative effects of the COVID-19 pandemic on nurses can be buffered by a sense of humor and appreciation. BMC Nurs 2021;20:257. doi. https://doi.org/10.1186/s12912-021-00770-5

Panneer S, Kantamaneni K, Palaniswamy U, Bhat L, Pushparaj RRB, Nayar KR, et al. Health, economic and social development challenges of the covid-19 pandemic: Strategies for multiple and interconnected issues. Healthcare (Basel). 2022;10:770. doi: 10.3390/healthcare10050770. PMID: 35627910; PMCID: PMC9140679.

Palese A, Papastavrou E, Sermeus W. Challenges and opportunities in health care and nursing management research in times of COVID-19 outbreak. J Nurs Manag 2021;00:1–5. https://doi.org/10.1111/jonm.13299.

Luo Y, Feng X, Zheng M, Zhang D, Xiao H, Li N. Willingness to participate in front-line work during the COVID-19 pandemic: A cross-sectional study of nurses from a province in South-West China. J Nurs Manag. 2021;291356-65. doi: 10.1111/jonm.13309.

ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30:320-33

ฐิติพร อัศววิศรุต, เยาวลักษณ์ เมณฑกานุวงษ์, กลอยใจ แสนวงษ์, นิภาพร ละครวงษ์. การพัฒนา รูปแบบการบริหารทางการพยาบาล ต่อสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2565;24:35-44

อุษา คำประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.2565;16:30-44

ธีรพร สถิรอังกูร, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์. คู่มือการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. สำนักวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข.

Jennings-Sanders, A. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings disaster nursing management model. Nurse education in practice, 2004;4:69-76.

Epidemiologic Statistics for Public Health. Sample size for unmatched case-control study [Internet]. 2006 [cited 2023 Jan 17]. Available from: https://www.openepi.com/SampleSize/SSCC.htm

Fleiss J & Levin B & Paik Myunghee. Determining Sample Sizes Needed to Detect a Difference between Two Proportions. 2024;3:64-85. doi. 10.1002/0471445428.ch4.

Rosenstock IM. “Historical Origin of the Health Belief Model”. 2nd ed. Los Angeles: Health Education Monographs; 1974. p.328-335.

Wu XY, Zheng SY, Huang JJ, Zheng ZL, Xu MQ, Zhou YH. Annals of global health [Internet]. Contingency Nursing Management in Designated Hospitals During COVID‐19 Outbreak. Annals of Global Health. Ubiquity Press. 2020 [cited 2023 Feb 4];86:1–5. Available from: https://doi.org/10.5334%2Faogh.2918

Labrague LJ, De Los Santos JAA. COVID-19 anxiety among front-line nurses: Predictive role of organisational support, personal resilience and social support. J Nurs Manag 2020;28:1653-61. doi: 10.1111/jonm.13121.

Hossny EK, Morsy SM, Ahmed AM, Saleh MSM, Alenezi A, Sorour MS. Management of the COVID-19 pandemic: Challenges, practices, and organizational support [Internet]. BMC nursing. BioMed Central [cited 2023 Feb 5];2022:1-13 Available from: https://doi.org/10.1186/s12912-022-00972-5

Pragholapati A. Self-efficacy of nurses during the pandemic covid-19 [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 21]. Available from: https://www.academia.edu/43045687/Self_Efficacy_Of_Nurses_During_The_Pandemic_Covid_19

Jennings-Sanders A. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings Disaster Nursing Management Model. Nurse Educ Pract 2004;4:69-76. doi: 10.1016/S1471-5953(03)00007-6.

Poortaghi S, Shahmari M & Ghobadi A. Exploring nursing managers’ perceptions of nursing workforce management during the outbreak of COVID-19: a content analysis study. BMC Nurs 2021;20:27. doi. https://doi.org/10.1186/s12912-021-00546-x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-22