การพัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน การติดเชื้อในกระแสโลหิตสำหรับผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้
คำสำคัญ:
การประเมินการติดเชื้อ , การจัดการทางการพยาบาล , ผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้บทคัดย่อ
ปัญหาการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรงและการเสียชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้ การพัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการพยาบาลอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาดังกล่าวและเหมาะสมกับบริบท การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การประเมินและการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตสำหรับผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้ ในรูปแบบเดิม 2) พัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลฯ และ 3) ประเมินผลรูปแบบการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตสำหรับผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้ที่รับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 28 คน พยาบาลวิชาชีพ 12 คน เครื่องมือวิจัยคือ 1) คู่มือการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลฯ 2) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 3) แบบประเมินความรู้ของพยาบาล เรื่อง การประเมินและการจัดการทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต 4) แบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบฯ ไปใช้ 5) แบบประเมินการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ของพยาบาล และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และ Wilcoxon test ผลการศึกษา พบว่า การประเมินและการจัดการทางการพยาบาลฯ ไม่ชัดเจน พยาบาลส่วนใหญ่มีการประเมินการติดเชื้อบาดแผลไหม้ไม่ครบและล่าช้าขาดการจัดการทางการพยาบาลด้านการจัดหน่วยงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายเกิดติดเชื้อในกระแสโลหิต 3 คน (11.53 %) เกิด Septic shock และเสียชีวิต 1 คน (3.85 %) หลังการพัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต พบว่าผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต 1 คน (3.57 %) ไม่พบ Septic shock หรือเสียชีวิต ค่าคะแนนมัธยฐานความรู้ฯ และการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ของพยาบาลมีค่าเพิ่มขึ้นและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังใช้รูปแบบที่พัฒนาแล้ว (p- value = .002) พยาบาลพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด (58.34 %) นำไปใช้ได้ง่าย (91.67 %) และนำไปใช้ได้จริง (85.19 % )
References
Chen Z, Turxun N, Ning F. Meta – analysis of the diagnostic value of procalcitonin in adult burn sepsis. Adv Clin Exp Med. 2021;30:455-63. doi: 10.17219/acem/131755.
Cao Z, Zhang Y, Luo JH, Liao WQ, Cheng X, & Zhan JH. A bibliometric analysis on burn sepsis 2022. doi: 10.21203/rs.3.rs-1602059/v1
Boehm D, Menke H. Sepsis in Burns – Lessons Learnt from Developments in the Management of Septic Shock. Medicina 2022;58:26.
Torres MJM, Peterson JM, Wolf SE. Detection of infection and sepsis in burns. Surg Infect 2021;22:20-7.
Dvorak JE, Khandelwal A, Ladhani HA, Claridge JA. Review of sepsis in burn patients in 2020. Surg Infect 2021;22:37-43.
Zhang P, Zou B, Liou YC, Huang C. The pathogenesis and diagnosis of sepsis post burn injury. Burns Trauma 2021;9:tkaa047. doi: 10.1093/burnst/tkaa047.
Manning J. Sepsis in the burn patient. Critical Care Nursing Clinics. 2018;30:423-30.
Tiwari MN. Nursing responsibility for burns and infection control. J Pharm Negat Results 2022:4519-21.
Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47:1181-247.
Greenhalgh DG. Sepsis in the burn patient: a different problem than sepsis in the general population. Burns Trauma 2017;5:23. doi: 10.1186/s41038-017-0089-5.
Evans L, Alhazzani W, Antonelli M, Craig M, Smith C, French C, et al. GUIDELINES Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47:1181–247.
Yang Y, Zhang Y, Li S, Zheng X, Wong MH, Leung KS, et al. A robust and generalizable immune-related signature for sepsis diagnostics. IEEE/ACM Trans Comput Biol Bioinform 2021;19:3246-54.
Niggemann P, Rittirsch D, Buehler PK, Schweizer R, Giovanoli P, Reding T, et al. Incidence and time point of sepsis detection as related to different sepsis definitions in severely burned patients and their accompanying time course of pro-inflammatory biomarkers. J Pers Med 2021;11:701.
Khwannimit B, Bhurayanontachai R, Vattanavanit V. Comparison of the accuracy of three early warning scores with SOFA score for predicting mortality in adult sepsis and septic shock patients admitted to intensive care unit. Heart Lung 2019;48:240-4. doi: 10.1016/j.hrtlng.2019.02.005.
วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม, ธนชัย พนาพุฒิ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32:25–36.
ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสิงห์บุรี. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต: ปทุมธานี; 2560.
วิทยา บุตรสาระ, ยุพนา ลิงลม, สำเนียง คำมุข. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาล ครั้งที่ 25 2563;(พิเศษ):17-25.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:224-31.
ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยแผลไหม้ multi-Center ด้วยระบบ UCHA. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2560. วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย 2560;11:10.
ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยแผลไหม้ Multi-Center ด้วยระบบ UCHA. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2561. วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย 2562;12:10.
ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยแผลไหม้ Multi-Center ด้วยระบบ UCHA. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2562. วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย 2563;13:10.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.
Omar Nunez Lopez, Janos Cambiaso-Daniel, Ludwik K Branski, William B Norbury, David N Herndon. Predicting and managing sepsis in burn patients: current perspectives. Ther Clin Risk Manag 2017;13:1107-17. doi: 10.2147/TCRM.S119938
Tran NK, Albahra S, Pham TN, Holmes IV JH, Greenhalgh D, Palmieri TL, et al. Novel application of an automated-machine learning development tool for predicting burn sepsis: proof of concept. Scientific reports 2020;10:12354.
ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข, ประภัสสร ควาญช้าง, นุสรา ประเสริฐศรี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหนักที่ติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้การจัดการรายกรณี ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:184-93.
พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท,์ วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36:207-15.
กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, ชรินทร์ ศิลป์ กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2560;34:222-36.
ศุภา เพ็งเลา, กนกวรรณ สินลักษณทิพย์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารเขต 4 – 5 2563;39:698-712.
สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2560;26:35-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง