ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม

ผู้แต่ง

  • วีรนุช เจียมบุญศรี สาขาการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยการจัดการเทคโนโลยีและอีสเทิร์น
  • จุฑามาศ แก้วจันดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล มหาวิทยาลัยการจัดการเทคโนโลยีและอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม , การรับรู้ความความสามารถของตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม, การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้เปิดทางหน้าท้องหรือทวารเทียมเป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์และการดำเนินชีวิต หากมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูทวารเทียมอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ การวิจัยใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่ง กลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมที่มารับบริการทที่งานพยาบาลออสโตมีและแผล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ระหว่างมิถุนายน - กันยายน 2565 จำนวน 35 ราย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura ร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของ House เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม แบบประเมินความคาดหวังต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมฯ มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง        ความคาดหวัง และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 สรุปได้ว่า โปรแกรมฯ สามารถทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้และดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ รวมทั้งสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้

References

World Health Organization (WHO). Cancer today Data visualization tools for exploring the global cancer burden in 2020. [Internet] 2021 [cited 2021 Sep 13] Available from https://gco.iarc.fr/today/home

Rojanamatin J, Ukranun W, Supaattagorn P, Chaiwiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al. Cancer in Thailand Volume X 2016 - 2018. [internet] 2021 [cited 2021 Sep 13] https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html

ศรัณย์ กิจศรัณย์, บรรณาธิการ. แผนการดำเนินงาน Service Planเขตสุขภาพที่10 ปี2565 สาขาโรคมะเร็ง. การประชุมคณะกรรมการระบบบริการสุขภาพ Service Plan เขตสุขภาพที่ 10 ; 1 พฤศจิกายน 2564; โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2557.

งานทะเบียนมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. สถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี (Hospital base cancer registry) ปี พ.ศ.2562. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2562.

จุฬาพร ประสังสิต, กาญจนา รุ่งแสงจันทร์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้และรูเปิดทวารทางหน้าท้อง ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2562.

United Ostomy Associations of America (UOAA). Living with an ostomy. [internet] 2021 [cited 2021 Sep 13] Available from https://www.ostomy.orgliving-with-an-ostomy.

He LJ, Zheng MC, Wong FKY, Ying J, & Zhang J. Immediate postoperative experiences before discharge among patients with rectal cancer and a permanent colostomy: A qualitative study: A qualitative study. European Journal of Oncology Nursing 2021; 51:101911.

Carvalho DS, Silva AGI, Ferreira SRM, & Braga LC. Elaboration of an educational technology for ostomized patients: Peristomal skin care. Revista Brasileira de Enferma gem 2018;72:427-34.

Pipi A, Asimakopoulou E, Argyriadis A, Bellou P, Gourni M, & Sapountzi-Krepia D. Quality of life in patients with colostomy and the effects in everyday life. To Vima tou Asklipiou Journal 2021;20:44-59.

ศิริพรรณ ภมรพล, บังอร น้อยอ่ำ, และประพนธ์ กาญจนศิลป์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ที่มีที่ทวารใหม่. วารสารสภาการพยาบาล 2564;36:52-70.

Nam KH, Kim HY, Kim JH, Kang K-N, Na SY, Han BH. Effects of social support and self-efficacy on the psychosocial adjustment of Korean ostomy patients. Int Wound J 2019; 16:13-20.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84:191-215.

House JS. Work stress and social support. Mass: Addison-Wesley Pub; 1981.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวนขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้ โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

Polit DF, & Beck CT. Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. 10th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2017.

Best JW, & Khan JV. Research in Education. 6th ed. Eaglewood Cliffs; 1989.

Mohamed SS, Salem GMM, Mohamed HA. Effect of self-care management program on self-efficacy among patients with colostomy. American Journal of Nursing Research 2017; 5:191-199.

Xia L. The effects of continuous care model of information-based hospital-family integration on colostomy patients: A randomized controlled trial. Journal of Cancer Education 2020;35:301-311.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-29