ความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ความเป็นไปได้, รูปแบบปฏิบัติการพยาบาล , พยาบาลห้องผ่าตัดบทคัดย่อ
ปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัด เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนหนึ่งที่ควรส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาพยาบาล การออกแบบการรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาแบบ 3 วัน อาจส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยแบบบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 32 คน ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 ภายหลังใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาแบบ 3 วัน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินจำนวนครั้งของการได้ฝึกปฏิบัติ 2) แบบประเมินความถูกต้องของการปฏิบัติกิจกรรม 3) แบบประเมินผลการสอบปฏิบัติในคลินิก 4) แบบประเมินความคิดเห็นก่อน-หลังเข้าฝึกปฏิบัติ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งในการได้ปฏิบัติของนักศึกษา 3.07 ครั้งต่อคน (= 3.07, S.D. = 0.69) 2) ค่าเฉลี่ยความถูกต้องการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (= 3.56, S.D. = 0.49) 3) คะแนนการประเมินทักษะทางคลินิก (Objective Structured Clinical Examination: OSCE) ภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี (= 3.38, S.D. = 0.26) ทั้ง 4 กลุ่ม (= 3.41, 3.39, 3.32, 3.40 S.D. = 0.27, 0.27, 0.24, 0.25) ตามลำดับ (4) ความคิดเห็นนักศึกษาก่อนฝึกเห็นด้วยปานกลาง (= 3.24, S.D. = 0.57) หลังฝึกเห็นด้วยมากที่สุด (= 4.94, S.D. = 0.16) และ 5) ระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาต่อกิจกรรมจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.96, S.D. = 0.12) จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาแบบ 3 วัน มีความเป็นได้ในการส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาพยาบาลเป็นอย่างดี การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเชิงคุณภาพ และเปรียบเทียบพฤติกรรมปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัดก่อนหลังการใช้รูปแบบฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องผ่าตัดสำหรับนักศึกษาแบบ 3 วัน
References
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.
สุภาพ อารีย์เอื้อ. การพยาบาลห้องผ่าตัด: จากการส่งเครื่องมือสู่การพยาบาลแบบองค์รวม. วารสารการพยาบาลรามาธิบดี 2541;4:204-12.
สภาการพยาบาล. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2560. สภาการพยาบาล; 2563.
ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. รายงานการวิจัยสถาบันเรื่อง ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นคราชสีมา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2561.
ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
รัตนา เพิ่มเพ็ชร์, เบญจมาพร บุตรศรีภูมิ. บทความวิชาการเรื่อง บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. Rama Nurse J 2016; 22:9-20.
Burcu Totur Dikmen, Nurhan Bayraktar. Journal of Peri-Anesthesia 2021;36:59-64.
ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชัย, ศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. บทความวิจัยเรื่อง ผลของการสอนฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัด โดยใช้สถานการณ์จำลอง ในสภาพแวดล้อมจริงต่อทักษะพื้นฐานในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36: 55-67.
Shen H, Wang H, Yan L, Liu W, Zhang J, Zhou F, et al. Incivility in nursing practice education in the operating room. Nurse Educ Today 2020;88:104366. doi: 10.1016/j.nedt.2020.104366.
Wang R, Shi N, Bai J, Zheng Y, Zhao Y. Implementation and evaluation of an interprofessional simulation-based education program for undergraduate nursing students in operating room nursing education: a randomized controlled trial. BMC Med Educ 2015;15:115 doi. https://doi.org/10.1186/s12909-015-0400-8
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง