การประเมินผลโครงการจัดบริการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือสุขภาพจิตในกลุ่มเด็ก 6 – 15 ปี เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • ภูษณิศา มีนาเขตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิชนันท์ สุวรรณกูฏ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10
  • ดรุณี คชพรหม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงประเมินผล , สุขภาพจิตเด็ก , รูปแบบการประเมิน CIPPiest

บทคัดย่อ

โครงการจัดบริการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือสุขภาพจิตในกลุ่มเด็ก 6 – 15 ปี เขตสุขภาพที่ 10 จัดขึ้นเพื่อคัดกรองและดูแลรักษาสุขภาพจิตเด็กที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท 4 กลุ่มโรค แต่ยังไม่มีการประเมินผลโครงการที่เป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ การวิจัยเชิงประเมินนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อประเมินผลโครงการและศึกษาแนวทางในการส่งเสริมความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมคัดกรองสุขภาพจิตเด็ก และผู้ดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการของทีมคัดกรองฯ และผู้ดูแล ตามรูปแบบ CIPPiest Model มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.95 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน  (gif.latex?\bar{X} = 3.89, 4.14, S.D = 0.77, 0.57) ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ด้านบริบท มีการถ่ายทอดนโยบาย แต่ยังไม่ทั่วถึง ด้านปัจจัยนำเข้า  มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบทำให้ขาดความต่อเนื่อง จำนวนทีมคัดกรอง ไม่เพียงพอ ด้านกระบวนการ มีการติดตามเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่บุคลากรยังขาดความเชี่ยวชาญในการคัดกรอง ผู้ปกครองขาดความเข้าใจและไม่ยอมรับผลการคัดกรองทำให้เกิดความล่าช้า  ในการรักษาด้านผลผลิตและผลกระทบ กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองครอบคลุมทำให้เด็กป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น แนวทางส่งเสริมความสำเร็จ คือ ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวชเด็ก ความรอบรู้และทักษะการดูแลเด็กให้กับผู้ปกครอง เน้นการทำงานแบบบูรณาการ พัฒนาระบบส่งต่อให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ดังนั้น ควรมีการอบรมเพิ่มความเชี่ยวชาญ ให้บุคลากรอย่างต่อเนื่อง สื่อสารและพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวชเด็ก การสังเกตอาการให้กับผู้ปกครองและ อสม.เพื่อช่วยคัดกรอง ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานพยาบาล โรงเรียนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการ

References

ธัญลักษณ์ วั่งเลี่ยง. ปัญหาการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสงขลา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564;66:261-76.

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, จันทร์อาภา สุขทัพภ์, วนิดา ชนันทยุทธวงศ์, อัมพร เบญจพลพิทักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ และภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูกับระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2562;27:159-70.

กรมสุขภาพจิต. เชื่อมั่นเด็กไทยไอคิวดีอีคิวเด่น “การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ. 2559” [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://doc.dmh.go.th/report/compare/iqeq.pdf

รัชนีวรรณ ปันศรี,ชวนันท์ ชาญศิลป์. คามชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้นโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564;66:107-22.

กระทรวงสาธารณสุข. การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ea11b

c4bbf333b78e6f53a26f7ab6c89

Stufflebeam DL, & Shinkfield AJ. Evaluation: Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass; 2007.

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ และสิรารัตน์ เจริญศรีเมือง. แนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564;11:137-48.

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา. การประเมินหลักสูตรแนวใหม่ : รูปแบบ CIPPIEST. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560;9:203-12.

Taro Y. Statistics: an introductory analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publication; 1973.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, อมรรัตน์ นธะสนธิ์. ประเมินโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 10. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;25:102-18.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10. ฐานข้อมูลสถานบริการสาธารณสุขที่ขาด PG เด็ก [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.mdo.moph.go.th/computer/web51v2/filenew spay/090118033717.pdf.

เศกสันต์ ชานมณีรัตน์. การประเมินผลการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2561;37:66-77.

จารุภา จำนงศักดิ์. การประเมินนโยบายสำคัญ: กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560;36:176-88.

กรมสุขภาพจิต. แอปพลิเคชัน “HERO” [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2290

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29