ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ ที่มารับบริการในพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพ , ไวรัสโคโรนา 2019 , ผู้สูงอายุ, การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนบทคัดย่อ
การรับรู้การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้สูงอายุอาจมีข้อมูลจำกัด การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการในพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 282 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบทดสอบสมรรถนะสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) 3) แบบสอบถามการรับรู้การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 และ 4) แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.9 อายุเฉลี่ย 68.20 ปี (S.D. ± 6.75) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 45 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 88 ผู้สูงอายุมีการรับรู้การแพร่ระบาดของข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 คะแนนเฉลี่ย 3.56 (S.D. ± 0.62) ค่าเฉลี่ยความสับสนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา เท่ากับ 2.66 (S.D. ± 0.53) ผลความรอบรู้ ทางสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 3.39 (S.D. ± 0.83) ผลแบ่งเป็นรายด้าน แสดงดังนี้ 1) ด้านการเข้าถึงข้อมูลคะแนนเฉลี่ย 2.93 (S.D. ± 0.83) 2) ด้านการเข้าใจข้อมูล คะแนนเฉลี่ย 3.57 (S.D.± 0.46) 3) ด้านการประเมินข้อมูลคะแนนเฉลี่ย 3.58 (S.D. ± 0.59) และ 4) ด้านการนำข้อมูลไปใช้เพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 คะแนนเฉลี่ย 3.62 (S.D. ± 0.50) จากการวิจัยผู้สูงอายุมีความรอบรู้ทางสุขภาพ อยู่ในระดับที่เพียงพอ 3 ด้าน คือ การเข้าใจ การประเมิน และการนำข้อมูลไปใช้ ยกเว้นด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับที่เป็นปัญหา ดังนั้น ทีมสุขภาพควรใช้วิธีการที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายตามบริบทของผู้สูงอายุแต่ละราย
References
Ciotti M, Ciccozzi M, Terrinoni A, Jiang W-C, Wang C-B, Bernardini S. The COVID-19 pandemic. Critical reviews in clinical laboratory sciences. 2020;57:365-88.
COVID-19 Situation in Thailand [Internet]. [cited 2022 Feb 21] Available from:. https://covid19.who.int/region/searo/country/th
Preskorn SH. The 5% of the population at high risk for severe COVID-19 infection is identifiable and needs to be taken into account when reopening the economy. J Psychiatr Pract. 2020;26:219-27. doi: 10.1097/PRA.0000000000000475.
Niu S, Tian S, Lou J, Kang X, Zhang L, Lian H, et al. Clinical characteristics of older patients infected with COVID-19: A descriptive study. A Arch Gerontol Geriatr 2020;89:104058. doi: 10.1016/j.archger.2020.104058.
Daoust J-F. Elderly people and responses to COVID-19 in 27 Countries. PloS one. 2020;15:e0235590. doi: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0235590.
Gustavsson J, Beckman L. Compliance to recommendations and mental health consequences among elderly in Sweden during the initial phase of the COVID-19 pandemic—a cross sectional online survey. Int J Environ Res Public Health 2020;17:5380. doi: 10.3390/ijerph17155380.
Gautam V, S D, Rustagi N, Mittal A, Patel M, Shafi S, et al. Health literacy, preventive COVID 19 behaviour and adherence to chronic disease treatment during lockdown among patients registered at primary health facility in urban Jodhpur, Rajasthan. Diabetes Metab Syndr 2021;15:205-11. doi: 10.1016/j.dsx.2020.12.023.
Nutbeam D, Muscat DM. Health Promotion Glossary 2021. Health promotion international 2021;36:1811. doi: https://doi.org/10.1093/heapro/daab067.
Galvão J. COVID-19: the deadly threat of misinformation. Lancet Infect Dis 2021;21(5):e114. doi:10.1016/S1473-3099(20)30721-0.
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: Mythbusters[Internet]. 2022 [2022 Feb 21.]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public/myth-busters.
Zarocostas J. How to fight an infodemic. The lancet. 2020;395(10225):676.
Liu C, Wang D, Liu C, Jiang J, Wang X, Chen H, et al. What is the meaning of health literacy? A systematic review and qualitative synthesis. Family medicine and community health. 2020;8;e00351. doi: 10.1136/fmch-2020-000351.
Paakkari L, Okan O. COVID-19: health literacy is an underestimated problem. The Lancet Public Health. 2020;5:e249. doi:10.1016/S2468-2667(20)30086-4.
Levy H, Janke AT, Langa KM. Health literacy and the digital divide among older Americans. J Gen Intern Med 2015;30:284-9. doi: 10.1007/s11606-014-3069-5.
Beaunoyer E, Dupéré S, Guitton MJ. COVID-19 and digital inequalities: Reciprocal impacts and mitigation strategies. Comput Human Behav 2020;111:106424. doi: https://doi.org/10.1016/j.chb.2020.106424.
Eronen J, Paakkari L, Portegijs E, Rantanen T. Coronavirus-related health literacy and perceived restrictiveness of protective measures among community-dwelling older persons in Finland. Aging Clin Exp Res 2021;33:2345-53.
Boonkerd P, Assantachai P, Senanarong W. Clinical practice guideline for dementia (in Thai) Guideline for Dementia. Bangkok: Neuroscience Institute; 2003.
Okan O, Bollweg TM, Berens EM, Hurrelmann K, Bauer U, Schaeffer D. Coronavirus-related health literacy: A cross-sectional study in adults during the COVID-19 infodemic in Germany. Int J Environ Res Public Health 2020;17:5503. doi: 10.3390/ijerph17155503
Yabrude ATZ, Souza ACMd, Campos CWd, Bohn L, Tiboni M. Challenges caused by fake news among elderly population during the Covid-19 Infodemic: experience of medical students. Rev Bras Educ Med 2020;44 Suppl 1: e0140.
Pechrapa K, Yodmai K, Kittipichai W, Charupoonpol P, Suksatan W. Health literacy among older adults during COVID-19 pandemic: a cross-sectional study in an urban community in Thailand. Ann Geriatr Med Res 2021;25:309-17.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ปนัดดา งามเปรี่ยม, สุรัตนา เหล่าไชย, ประภากร ศรีสว่าวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;14:104-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง