การพัฒนารูปแบบ “ปทุมโมเดล” ในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม , การส่งเสริมสุขภาพเด็ก, พัฒนาการเด็ก , ปทุมโมเดลบทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจึงถูกดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ “ปทุมโมเดล” ในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมพร้อมและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ระยะที่ 1 เป็นคณะกรรมการครอบครัวเด็กและชุมชนจำนวน 10 คน ระยะที่ 2 และ 3 เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม 16 คน ผู้ปกครองเด็ก 74 คน และแกนนำชุมชน 56 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนารูปแบบภาวะโภชนาการและพัฒนาการ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครอง และแบบประเมินการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและ Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาปทุมโมเดลประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ (1) พัฒนาศักยภาพหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองแบบมีส่วนร่วมโดยการอบรม สาธิตและฝึกประเมินโภชนาการ และการประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้เทคนิค “กิน กอด เล่น เล่า” (2) การสร้างเครือข่ายแกนนำในชุมชนแบบมีส่วนร่วม และ (3) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกโดยการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กและเยี่ยมบ้าน 2) เกิดถนนสายบุญ “กองทุนนมจืดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็ก” 3) คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองภายหลังฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) 4) ความพึงพอใจปทุมโมเดลอยู่ในระดับมากที่สุดของหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครอง (57%) 5) การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนอยู่ในระดับมาก (83.9%) และ 6) เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมวัย (93.4%) และโภชนาการสมส่วน (92.1%) ดังนั้น รูปแบบ “ปทุมโมเดล” เป็นรูปแบบที่พัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ จึงมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ในบริบทของสังคมปัจจุบันได้
References
สำนักโภชนาการ. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
สุภาภรณ์ ปัญหาราช. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีในชุมชนแบบมีส่วนร่วม. วราสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562;2:98-108.
นิธิภัทร กมลสุข. เตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่เด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 2561;2:37-45 .
จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;3:69-185.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.
Bloom SB, Hastings JT, Madaus FG. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.
Best JW, Kahn JV. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice – Hall; 1998.
Best JW, Kahn JV. Research in education. 8th ed. Singapore: Allyn and Bacon; 1998.
สุจินดา สุขกำเนิด. โครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560;4:16-27.
ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง, อติญา โพธิ์ศรี, ญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561;1:95-103.
กรแก้ว ทัพมาลัย. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;29:5-19.
ภควดี นนทพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี 2561;3:10 -23.
กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลสุขภาพHDC (Health Data Center) [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง