ผลของการเรียนโดยใช้จิตตปัญญาศึกษาต่อความสุขในการเรียนรู้ และพฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวมของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ปิยพงศ์ สอนลบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุวรรณี สร้อยสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ภัณฑิรชา เฟื่องทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นันทวรรณ ธีรพงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา, การพยาบาลแบบองค์รวม , ความสุขในการเรียนรู้ , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวมและความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล เป็นเป้าหมายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพพยาบาล จิตตปัญญาศึกษาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหนึ่งช่วยส่งเสริมเป้าหมายดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาต่อความสุขในการเรียนรู้และพฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวม วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยการกึ่งทดลอง สองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง  จำนวน 14 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ กิจกรรม จิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความสุขในการเรียนรู้และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่ามัธยฐาน การทดสอบวิลคอกซอลและแมนวิทนีย์- ยู ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยพบว่า 1) ในกลุ่มทดลอง ค่ามัธยฐานของความสุขในการเรียนรู้และพฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวมหลังเรียนกิจกรรมฯสูงกว่าก่อนเรียนกิจกรรมฯ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) เมื่อเปรียบเทียบความสุข ฯ และพฤติกรรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ค่ามัธยฐาน ของความสุขฯ และพฤติกรรมฯ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3)  ความคิดเห็นนักศึกษา พบว่ากิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกดดันในเวลาเรียน ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน ผู้สอน และทีมการพยาบาล ทั้งนี้จึงกล่าวได้ว่าการนำกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษามาประยุกต์ใช้ ในการเรียนภาคปฏิบัติการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความสุขในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล และมีพฤติกรรมการพยาบาลแบบองค์รวม

References

อุไร หัตถกิจ และวารีรัตน์ ถาน้อย. การพยาบาลองค์รวมและการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน : การบูรณาการสู่แนวคิดการจัดการศึกษาพยาบาล : วารสารสภาการพยาบาล 2555;27:5-17.

รัตติกรณ์ จงวิศาล, สมสิทธ์ อัสดรนิธี และ ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์. สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์: คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตตวิญญาณ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอเชีย ดิจิตตอลการพิมพ์; 2564.

กรศศิร์ ชิดดี และณัฐพร อุทัยธรรม.กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา กลยุทธ์การพัฒนา บุคลิกภาพนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560;5:106-17.

Naropa University. Mindfulness & Contemplative Education [Internet]. 2021 [cited 2022 Apr 13]. Available from : https://www.naropa.edu/the-naropa-difference/mindfulness- and-comtemplative-education/

บุษกร เสนากุล.สอนนอกกรอบ ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายใน. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี; 2563.

ปราณี อ่อนศรี. จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:7-11.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. การแสวงหาความรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา.วี.พริ้นท์ (1996); 2556.

วิจารณ์ พานิช. เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2558.

ปิยพงศ์ สอนลบ. ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่อการตระหนักรู้ในตนเองและความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล.วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2563;27:41-53.

สุนิดา ชูแสง. กระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การบริการด้วยหัวใจความ เป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มหลักสูตรและการนิเทศ) แบบ 2.1 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

นฤมล อเนกวิทย์. การพัฒนาหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

วิมลมาลย์ ศรีรุงเรือง. การใช้นวัตกรรมกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในนักศึกษาแพทย์ สำหรับ รายวิชาสุขภาวะกายและจิต. Tracks & Trends in Healthcare ประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 30 ระหว่าง 6-8 สิงหาคม 2557. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์; 2557.

ชลลดา ทองทวี, จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ธีระพล เต็มอุดม, พงษธร ตันติฤธิศักดิ์, สรยุทธ รัตนพจนารถ, พิจนีย์ สุทธิรัตน์. จิตตปัญญาพฤกษา : การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยและจัดการความรู้ จิตตปัญญาศึกษา ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

กล้วยไม้ ธิพรพรรณ, นงลักษณ์ แก้วศรีบุตร, จารุสรรณ ศิลา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดแขงนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงาน วิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการ. วิทยาพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น: ขอนแก่น; 2552.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, อดิศร จันทรสุข. ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : คู่มือกระบวนการจิตตปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. วี. พริ้นท์ (1996); 2559.

Miller J. Contemplative education. Journal of Transformative Education 2015;14:1-9. doi:10.1177/1541344615608465

The Center for Contemplative Mind in Society. The activist’s ally contemplative tools for social change [Internet]. 2017 [cited 2022 Apr 13]. Available from: www.contemplatvemind.org

The Center for Contemplative Mind in Society. The Tree of Contemplative Practices [Internet]. 2021 [cited 2022 Apr 13]. Available from: https://www.contemplativemind.org/practices/tree

ธวัชชัย วรพงศธร, สุรีย์พันธุ์ วงพงศธร. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรมแกรมสำเร็จรูป G*Power. กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี 2558;41:10-21.

Omir, A. Sample size estimation and sampling techniques for selecting a representative sample. Journal of Health Specialties 2014;2:142-6.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2556.

ศุภามณ จันทร์สกุล, สุชาดา บวรกิติวงศ์. สถิตินอนพาราเมตริกและกาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560;11:38-48.

วรวรรณ จันทวีเมือง. ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่อสุขภาวะจิตวิญญาณของนักศึกษาพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, กาญจนา ภูครองนาค. การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรมจริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรมวุฒิสภา และศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

ภวิกา ภักษา. จิตตปัญญาศึกษา: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2563;14:7-18.

เมธินี วงศ์วินิช รัมภกาภรณ์. แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พริกวานกราฟฟิค; 2562.

พินทุสร ติวุตานนท์. องค์รวมอันแฝงเร้น การเดินทางสู่ชีวิตที่ไม่แบ่งแยก. ม.ป.ท: สวนเงินมีมา; 2560.

ละมัด เลิศล้ำ, ชนิดา ธนสารสุธี. การจัดการเรียนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) เพื่อพัฒนาการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์: นครสวรรค์; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30