การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูน ในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิรา เจียรณัย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สุดารัตน์ พวงเงิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สุรางคนา พรหมมาศ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • นุชพร ดุมใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา, ภาวะช็อคจากหัวใจ , กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด , การรักษา, การพยาบาล

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากหัวใจ (Cardiogenic shock [CS]) เป็นอาการทางคลินิกที่คุกคามชีวิต เกิดจากการกำซาบออกซิเจนของเนื้อเยื่อไม่เพียงพอเนื่องจากหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ CS เป็นกลุ่มอาการที่ซับซ้อน ของระบบไหลเวียนโลหิตที่ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (Cardiac output) ลดลงจนทำให้อวัยวะในร่างกายหลายระบบทำงานล้มเหลวจนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต  CS เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลด้วยเทคโนโลยีที่พิเศษ ผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 45-70 เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (Intra-Aortic balloon pump [IABP]) เป็นเครื่องมือที่ช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตชนิดชั่วคราวที่ช่วยเพิ่ม Cardiac output มีการเริ่มใช้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีราคาแพงและใช้ทรัพยากรที่มีความซับซ้อนมาก บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน IABP ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยครอบคลุมในประเด็นดังต่อไปนี้ 1)  หลักการทำงานของ IABP 2) วัตถุประสงค์ ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการใช้ IABP 3) ภาวะแทรกซ้อนของการใช้ IABP 4) การหย่าและการเลิกการทำงานของ IABP 5) การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วย IABP และ 6) ตัวอย่างกรณีศึกษาและการพยาบาล บทความนี้เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลวิกฤต ในการส่งเสริมสมรรถนะในการประเมินภาวะแทรกซ้อนและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ IABP   ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ตลอดจนสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย IABP ได้อย่างเหมาะสม และเป็นองค์รวม

References

อนุแสง จิตสมเกษม. ภาวะช็อคจากเหตุหัวใจ. วารสารเวชบำบัดวิกฤต 2560;25:23-36.

Generoso TP, Moura Júnior LA, Muramoto G, Assad RS. Intra-aortic balloon pump in cardiogenic shock: State of the art. Rev Col Bras Cir 2017; 44:102-6. doi: 10.1590/0100-69912017001006.

Thiele H, Ohman EM, Desch S, Eitel I, de Waha S. Management of cardiogenic shock. Eur Heart J 2015; 36:1223-30. doi: 10.1093/eurheartj/ehv051.

Combes A, Price S, Slutsky AS, Brodie D. Temporary circulatory support for cardiogenic shock. Lancet 2020; 396:199-212. doi: 10.1016/S0140-6736(20)31047-3.

Huu AL, Shum-Tim D. Intra-aortic balloon pump: Current evidence & future perspectives. Future Cardiol 2018; 14:319-28. doi:10.2217/fca-2017-0070.

ธีรพงศ์ โตเจริญโชค, พิเชษฐ์ เลิศปันณะพงษ์. การใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนในหลอดเลือดแดงเออร์ตา. เวชบันทึกศิริราช 2021;14:19-29.

Van NL, Noc M, Kapur NK, Patel MR, Perera D, Pijls NH. Usefulness of intra -aortic balloon pump counter pulsation. Am J Cardiol 2016;117:469-76.

นารีรัตน์ สกุลสิทธิ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะหัวใจวายและใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33:147-156.

Asber SA, Shanahan KP, Lussier L, Didomenico D, Davis M, Eaton J, et al. Nursing management of patients requiring acute mechanical circulatory support devices. Crit Care Nurse. 2020;40:e1-11. doi: 10.4037/ccn2020764.

Correia GDA, Feng ZX. Role of IABP in clinical practice: A review. Eur J Pharm Med Res 2017;4:96-100.

Rishi K. What is an Intra-aortic balloon pump (IABP)? [Internet]. 2017 [cited 2021 Nov 15]. Available from: https://rk.md/2017/intra-aortic-balloon-pump-arterial-line-ekg-waveforms/

Patterson T, Perera D, Redwood SR. Intra-aortic balloon pump for high-risk percutaneous coronary intervention. Circ Cardiovasc Interv 2014;7:712–20.

Nursing 2022. Interpreting intra-aortic balloon pump waveforms [Internet]. 2009 [cited 2022 Mar 1]. Available from: Interpretingintra-aorticballoonpumpwaveforms:Nursing2022(lww.com)

Pilarczyk K, Boening A, Jokob H, Langebartels G, Markewitz A, Haake N, et al. Preoperative Intra-aortic counterpulsation in high-risk patients undergoing cardiac surgery: A meta-analysis of randomized controlled trials dagger. Eur J Cardiothorac Sur 2016; 49:5-17. doi:10.1093/ejcts/ezv258.

Poirier Y, Voisine P, Plourde G, Rimac G, Barria PA, Costerousse O, et al. Efficacy and safety of preoperative Intra–aortic balloon pump use in patients undergoing cardiac surgery: A systematic review and meta-analysis. Int J Cardiol 2016; 207:67-79. doi:10.1016/j.ijcard. 2016.01.045.

Yang F, Wang J, Hou D, Xing J, Liu F, Xing ZC, et al. Preoperative Intra-aortic balloon pump improve the clinical outcomes of off -pump coronary artery bypass grafting in left ventricular dysfunction patients. Sci Rep 2016; 6:27645. doi:10.1038/srep27645.

Aso S, Matsui H, Fushimi K, Yasunaga H. In-hospital mortality and successful weaning from venoarterial extracorporeal membrane oxygenation: Analysis of 5,263 patients using

a national inpatient database in Japan. Crit Care, 2016; 20:1-7. doi:10.1186/s13054-016-1261-1.

Li Y, Yan S, Gao S, Liu M, Lou S, Liu G, et al. Effect of an Intra – aortic balloon pump with venoarterial extracorporeal membrane oxygenation on mortality of patients with cardiogenic shock: A systematic review and meta-analysis dagger. Eur J Cardiothorac Sur 2019; 55:395-404. doi:10.1093/ejcts/ezy304.

ฐิติมา หลิมเจริญ และเอกราช อริยะชัยพาณิชย์. ภาวะแทรกซ้อนของเครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก. จุฬาอายุรศาสตร์ 2562;32:75-90.

Gibney B, Ryan J, Murphy A, Gillespie C, Ridge C. Radiological imaging of the Intra-Aortic Balloon Pump; positioning and associated complications [Internet]. 2018 [cited 2021 Nov 15]. Available from: https://epos.myesr.org/poster/esr/ecr2018/C-0028

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30