การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: บทบาทพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นิตยา เจริญยุทธ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี
  • หทัยรัตน์ สายมาอินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จ.นครปฐม
  • วีนัสริน ก้อนศิลา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, บทบาทพยาบาลจิตเวช

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังมีความบกพร่องทางความคิด การรับรู้ อารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม ซึ่งการเจ็บป่วยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และสังคม ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังส่วนใหญ่มักแสดงออกในลักษณะแยกตัว ไม่สนใจสังคมรอบข้าง หลบนอน มีความรู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ หมดหวัง คิดว่าไม่มีอำนาจ ขาดความมั่นใจ ขาดอิสระในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และตกอยู่ในภาวะสูญเสียพลังอำนาจ ผู้ป่วยมักไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและคนอื่น การเจ็บป่วยเรื้อรังรักษาไม่หาย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกสูญเสียพลังอำนาจและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงอย่างมาก ปัญหาเหล่านี้สามารถให้การดูแลช่วยเหลือได้ด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยพยาบาลจิตเวช ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง ที่ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังและผลกระทบของการเจ็บป่วยจิตเภทเรื้อรังการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ องค์ประกอบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง และบทบาทของพยาบาลจิตเวช ในการเสริมพลังอำนาจด้านจิตใจของผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง

References

เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, อนงค์นุช ศาโศรก, ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, ชุรีภรณ์ เสียงลํ้า, วีร์ เมฆวิลัย. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: วิคทอเรียอิมเมจ; 2560.

หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี. การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทหญิงเรื้องรังที่มีคุณค่าในตัวเองต่ำ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

ภาวิณี สถาพรธีระ, กฤตยา แสวงเจริญ. การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทชายที่มีคุณค่าในตนเองต่ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561;24:145-54.

Liberman RP. Recovery from schizophrenia: form follows functioning. World Psychiatry 2012;11:161–2. doi: 10.1002/j.2051-5545.2012.tb00118.x

นิตยา เจริญยุทธ, กชพงศ์ สารการ, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแหล่งพลังอำนาจ ความมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังหญิง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555;26:41-56.

ราตรี พิมพานิช, สุภัคกาญจน์ ประกอบแสง, อรศรี แก้วอ่อน, อุดม สารีมูล, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์: การวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต; 2562.

คณะกรรมการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมโรงพยาบาลศรีธัญญา. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชสู่สุขภาวะ: การจ้างงาน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส; 2559.

Stapornteer P. Empowerment for male schizophrenia with low self-esteem. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima 2018;24:145-54.

Kumar S, Mohanty S. Factors associated with self-esteem in patients with chronic schizophrenia. SIS Journal of Projective Psychology and Mental Health 2016;23:56-60.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Vauth R, Kleim B, Wirtz M, Corrigan PW. Self-efficacy and empowerment as outcomes of self-stigmatizing and coping in schizophrenia. Psychiatry Research 2007;150:71-80.

Conger JA, Kanungo RN. The empowerment process: Integrating theory and practice. Academy Management Review 1988;13:471-82.

Gibson GH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing 1991;16:354–61.

Miller JF. Coping with Chronic Illness : Overcoming Powerlessness . 2nd ed. Philadelphia: F.A. Davis; 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20