การบูรณาการการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดลกับบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา , การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ, สมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล การพัฒนาการบูรณาการการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดลกับบริการวิชาการอาจช่วยส่งเสริมเป้าหมายดังกล่าว การการวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความรู้ และสมรรถนะของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาภายหลังการบูรณาการการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดลกับบริการวิชาการในรายวิชาการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 136 คน วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนโดยใช้แบบซิปปา (CIPPA model) ประกอบด้วย การวางแผนครอบครัวและการบูรณาการการบริการวิชาการ 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจบูรณาการเรียนการสอนฯ และ 4) แบบประเมินสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจก่อนและหลังบูรณาการเรียนการสอนฯ เท่ากับ 4.06 (S.D. = 0.47) และ 4.58 (S.D.= 0.56) 2) ค่าเฉลี่ยของความรู้ก่อนและหลังบูรณาการเรียนการสอนฯ เท่ากับ 3.87 (S.D.= 0.38) และ 4.27 (S.D.= 0.45) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาก่อนและหลังบูรณาการเรียนการสอนฯเท่ากับ 4.16 (S.D.= 0.57) และ 4.58 (S.D. = 0.53) และ 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความพึงพอใจ และสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ก่อนและหลังบูรณาการเรียนการสอนฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) จากการวิจัยจะเห็นได้ว่า การบูรณาการการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดลกับบริการวิชาการ ช่วยส่งเสริมความรู้ ความพึงพอใจ และสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
References
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cur-das.wu.ac.th/backEnd/attach/attTQF/พยาบาล%20บัณฑิตศึกษา.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L32.PDF
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างพับลิซซิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง; 2560.
อติพร เกิดเรือง, ไชยวัฒน์ ค้ำชู, ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล. แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน 2564;6:781-790.
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม; 2564.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท. รายงานประเมินตนเองวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท ปีการศึกษา 2558 (เอกสารอัดสำเนา); 2558.
ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น; 2556.
Patil Y KS. CIPP model for school evaluation. Scholarly Research Journal for Humanity Science & English Language, 2015;2:2615–9.
ศราวุฒิ แพะขุนทด, กาญจนา นิ่มสุนทร. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการซิปปาดมเดล ในรายวิชาปฏิบัติการการนวดไทย 1 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต วิทยาลัยเทคโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2563;10:15- 27.
เกศินี วุฒิวงศ์, ดารินทร์ เหมะวิบูลย์, สุกาญจนา แม้นมาลัย. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ 2561;24:12-24.
สมจินดา ชมพูนุท, วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. การบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรร สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ2560;19:24-36.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic learning). กรุงเทพฯ: เนชั่นแนล จีโอ; 2560.
Mahdjoubi D. Four Types of R & D. Texas: Research Associate, IC2 Institute; 2009.
ศิริชัย กาญจนวาสี. การวิจัยและการพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย; 2559.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์; 2561.
Streiner D L & Norman G R. Health measurement scales: A practical guide to theirdevelopment and use. 2nd ed. Oxford: Oxford University Press; 1995.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา; 2557.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic learning). กรุงเทพฯ: เนชั่นแนลจีโอ; 2560.
สายสมร เฉลยกิตติ, จุฑารัตน์ บันดาลสิน, กุสุมา กังหลี, พรนภา คำพราว. การศึกษาการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ต่อการมี จิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:421-30.
ณัฐินี ชุติมันตพงศ์. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้โมเดลซิปปา เรื่องการวิเคราะห์การเงินของนิสิตภาคปกติ สาขาการจัดการ ชั้นปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ 2561;28:89-103.
อัศวิน พุ่มมรินทร์. ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่องลำดับและอนุกรมที่มีต่อความ สามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ; 2556.
Phonchai B. Nursing students’ attitude toward health service and community practice at Boromrajchonnee college of nursing, Nakhon Phanom, Nakhon Phanom University. Journal of Public Health and Development 2011;9:324-35.
พัชรี แวงวรรณ, นิสากร วิบูลชัย. ผลการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2560;14:57-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง