การประเมินผลการจัดการเรียนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การระบาด ของ COVID-19 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินดา คำแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พนาไพร โฉมงาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นุชจรินทร์ แก่นบุปผา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเรียนออนไลน์, โควิด-19, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อเว้นระยะห่างและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ในสถานศึกษา ซึ่งการเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบที่สามารถเรียนได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่สะดวก การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการจัดการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษาในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19  2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82.54 เรียนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนร้อยละ 34.92 และสาขาวิชาทันตสาธารณสุขร้อยละ 29.76 เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรมร้อยละ 21.03 และสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ร้อยละ 14.29 เครื่องมือสำหรับเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่คือสมาร์ทโฟนร้อยละ 80.95 เรียนออนไลน์ด้วย Google classroom ร้อยละ 97.22 และเรียนออนไลน์ที่บ้านตนเองร้อยละ 76.19 ภาพรวมผลการประเมินปัจจัยนำเข้าระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.23, S.D. = 1.10) การประเมินกระบวนการระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}= 3.36, S.D. = 0.96) การประเมินผลลัพธ์ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.33, S.D. = 0.84) และความพึงพอใจต่อการเรียนแบบออนไลน์ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.30, S.D. = 0.92) การเรียนออนไลน์เหมาะกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 การส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยนำเข้ารวมทั้งกระบวนการในจัดการเรียนการสอนออนไลน์ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสิทธิผลของผลลัพธ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 เม.ย.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php.

World Health Organization (WHO). Coronavirus [Internet]. 2021 [cited 2021 May 18]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1.

Son C, Hegde S, Smith A, Wang X and Sasangohar F. Effects of COVID-19 on College Students’ Mental Health in The United States: Interview Survey Study. Journal of medical internet research 2020;22:1-14.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, จรรยา คนใหญ่. การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14:285-98.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, กิติศาอร เหล่าเหมณี, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ, และ สุมิตร สุวรรณ. ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ 2563;4:44-61.

Bolatov AK, Seisembekov TZ, Altynay AZh, Baikanova RK, Smailova DS, Fabbro E. Online-Learning due to COVID-19 Improved Mental Health Among Medical Students. International Association of Medical Science Educators. [Internet]. 2020 [cited 2021 June 2]. Available from: https://doi.org/10.1007/s40670-020-01165-y

สิริพร อินทสนธิ. โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ 2563;22:203-14.

สุธี ทวีพันธุ์สานต์, ณัฐพงศ์ หงษ์คู. การศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลการปรับเปลี่ยนรูปแบบ การเรียนการสอนรายวิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (กวศอ 501) และประสบการณ์คลินิกทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (กวศอ 512) ตามสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564;65:235-44.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. ประกาศวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เรื่องมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://scphub.ac.th/?p=18570

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

ระพินทร์ โพธิ์. การสร้างและคุณภาพเครื่องมือสำหรับการวิจัย. อุตรดิตถ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์; 2549.

วัฒนพร จตุรานนท์, โสภี ชาญเชิงยุทธขัย, ศศิชญา แก่นสาร, และรัฐพร ปานมณี. การศึกษาพฤติกรรมการเรียนออนไลน์และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนผ่านระบบออนไลน์ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 ตามมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารการภาษาและวัฒนธรรมจีน 2563;7:291-310.

อโรชา ทองลาว, พัลลภ สุวรรณฤกษ์, สมเกียรติ ไทยปรีชา, ศศิน เทียนดี. การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2563. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ 2564;4:617-32.

ลักษมี ฉิมวงษ์. ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิตสาขาพลศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2564;10:9-19.

ธนภร กอเสนาะรส, มังกร ศรีสะอาด, นุชวนา เหลืองอังกูร. การติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มรายวิชาพลานามัย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2558;21:157-63.

โยษิตา หลวงสุรินทร์, ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. การบริหารจัดการการเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา:มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 2564;39:125-40.

จุฑาภรณ์ ธนกวีศิลป์, วจี ปัญญาใส, สุมิตา โรจนนิต. แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนร่วม โดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563;7:259-74.

พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 2563;4:47-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-21