การส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วนในยุคประเทศไทย 4.0 โดยใช้ PPCT Model

ผู้แต่ง

  • ณัฐปัณฑ์ เพียรธัญญกรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วริณญา อาจธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัสวรรณ แสนคำหมื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธัญญาศิริ โสมคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย, ประเทศไทย 4.0, PPCT model

บทคัดย่อ

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเปรียบเสมือนพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา  ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน พยาบาลจะมีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัยให้มีการเจริญเติบโตที่สมส่วน พัฒนาการตามวัย แต่จากการสำรวจยังพบว่า เด็กปฐมวัยทั้งประเทศ มีเพียงร้อยละ 49.5 เท่านั้นที่ส่วนสูงดีสมส่วน  และ 1 ใน 10 ของเด็กไทย เป็นเด็กที่มีภาวะเตี้ยและภาวะอ้วน แสดงให้เห็นถึง ปัญหาภาวะโภชนาการเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กวัยนี้จนถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาและสร้างศักยภาพเด็กปฐมวัยภายใต้รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย 4.0 โดยมีวิธีการที่ทุกหน่วยของสังคมที่เด็กอยู่อาศัยได้เข้ามาร่วมมือกันเพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหา มีความสอดคล้องกับ PPCT Model ซึ่งเป็นโมเดลที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการหรือพฤติกรรมในทางบวก เกิดการแก้ไขปัญหาสุขภาพและก่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ  ที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561;46:283-99.

Bronfenbrenner U, Gary WE. Developmental Science in the 21st Century: Emerging Questions, Theoretical Models, Research Designs and Empirical Findings. Social development 2000;9:115-25.

Singhasame P, Suwanwaha S, Sarakshetrin A. Nutritional promotion in pre-school children. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4:226-35.

Bureau of Nutrition. Growth of 0-5 years children. In: Guidelines for health promotion in nutrition at good children's health clinics manual for health professional. National Office of Buddhism; 2015.

Pengpan K. The Roles of Parents in Preventing Health Problems of Pre-School-Children. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2019;6:131-42.

World Health Organization. Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health [Internet]. 2019 [cited 2020 June 2] Available from: https://www.who.int/dietphysicalactivity/childhood/en/

พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา. ภาวะเตี้ย การป้องกันและแก้ไข Rama Channel ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140915-7-2/

UNICEF. WHO and the World Bank Group. levels and trends in child malnutrition: key findings of the 2020 edition. UNICEF: WHO and the World Bank Group; 2020.

Xia M, Li X, Tudge JRH. Operationalizing Urie Bronfenbrenner’s Process-Person-Context-Time Model. Human Development 2020;1-11. doi:10.1159/000507958

ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร. ทำอย่างไร ให้เด็กไทยสูงสมส่วน การส่งเสริมเด็กไทยยุคใหม่เติบโตสมวัย สูงดีสมส่วน ไม่อ้วน ผอม เตี้ย. กรุงเทพมหานคร: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2560.

วรรธนา นันตาเขียน, กุลภัสสรณ์ ตั้งศิริวัฒนากุล, สุกัลยา สุเฌอ. ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 2560;13:7-18.

พรวิภา ดาวดวง. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมเด็กไทยยุคใหม่เติบโตสมวัย สูงดีสมส่วน ไม่อ้วน ผอม เตี้ย. การส่งเสริมเด็กไทยยุคใหม่เติบโตสมวัย สูงดีสมส่วน ไม่อ้วน ผอม เตี้ย. กรุงเทพมหานคร; 2560.

กัญชรีย์ พัฒนา, ปราลีนา ทองศรี. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนและบทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2562;(เพิ่มเติม):134-140.

เบญจพร สุขประเสริฐ. การจัดการภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในเด็กวัยเรียน. ใน: สภาการพยาบาล, พยาบาลนำการจัดการภาวะน้ำหนักเกิน. นนทบุรี: วัฒนาการพิมพ์; 2559. หน้า 99-158.

กรมอนามัย. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเด็กไทยสูงสมส่วน แข็งแรง IQ EQ ดี [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://wwwold.anamai.moph.go.th/ewt_ news.php?nid=11210&filename=index(2560).

ฉันทิกา จันทร์เปีย, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล. ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

Judith AO, Judith AO. A clinical guide to pediatric sleep: diagnosis and management of sleep problems. Lippincott Williams & Wilkins; 2015.

Eriksson M, Ghazinour M, Hammarström A. Different uses of Bronfenbrenner’s ecological theory in public mental health research: what is their value for guiding public mental health policy and practice? Social Theory & Health 2018;16:414-33. doi: https://doi.org/10.1057/s41285-018-0065-6.

Pempek TA, McDaniel BT. Young Children’s Tablet Use and Associations with Maternal Well-Being. J Child Fam Stud 2016;25:2636–4. doi: https://doi.org/10.1007/s10826-016-0413-xoooo.

Williams J, Nelson-Gardell D. Predicting resilience in sexually abused adolescents. Child Abuse & Neglect 2012;36:53-63. doi: https://doi.org/10.1016/j.chiabu.2011.07.004.

สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, ขวัญใจ จริยาทัศน์กร, เยาวพา เดชะคุปต์, เทื้อน ทองแก้ว. การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เกี่ยวข้อง กับความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; 2556.

สุขุม พันธุ์ณรงค์, พิมลพรรณ บุญยะเสนา. การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2554;3:159-71.

ลินดา เยห์, ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบนฐานการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารพัฒนศาสตร์ 2562;2:102-39.

Suwanwaha S, Ampansirirat A, Suwanwaiphatthana W. Factor related to nutritional status among preschool aged children: A systematic review. The Journal of Baromarajonani College of Nusing Nakhonratchasima 2019;25:8-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-21