การใช้สถานการณ์ทางการพยาบาลในการเรียนการสอนการผดุงครรภ์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทร

ผู้แต่ง

  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • อัญชลี ฐิตะสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • พรรณทิพย์ ชับขุนทด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • เบญจมาศ ทองดีนอก โรงพยาบาลปากช่องนานา

คำสำคัญ:

การผดุงครรภ์, การเรียนการสอน, การพยาบาลด้วยความเอื้ออาทร, สถานการณ์ทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติในวิชาการผดุงครรภ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และจริยธรรมควบคู่กันไป กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการทำกรณีศึกษาเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่ผู้เรียนต้องรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์พยาธิสภาพโรคและแนวทางการรักษา เพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล และเขียนรายงานที่เน้นเนื้อหาทางวิชาการที่ช่วยพัฒนาความรู้และแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล แต่อาจไม่เพียงพอในการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทร โดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่มีความเครียดสูง มีการแบ่งห้องย่อยหลายห้อง มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของมารดาและทารกมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการมองข้ามความเป็นตัวบุคคลของผู้รับบริการได้ง่าย เหตุผลดังกล่าวอาจทำให้ผู้สอนไม่สามารถดูแลนักศึกษาได้ใกล้ชิดเพียงพอที่จะสังเกตเห็นพฤติกรรมเอื้ออาทร ซึ่งพัฒนาขึ้นระหว่างนักศึกษาและผู้รับบริการ กิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงพฤติกรรมหรือความรู้สึกเอื้ออาทร ของนักศึกษาที่มีต่อผู้รับบริการจึงอาจช่วยชดเชยส่วนนี้ได้ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนด้วยสถานการณ์ทางการพยาบาล (Nursing situation) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้สอนในการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การดูแลผู้คลอดด้วยความเอื้ออาทรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

References

อรนุช อักษรดี. ภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน, วัลภา สบายยิ่ง, นิรนาท แสนสา, และจินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7:16-31.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. มคอ.2 หลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). ม.ป.ท.; 2560.

อัศนี วันชัย. การศึกษาไทย: แนวโน้มการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2560;18:106-17.

กัญญ์ชิสา สุนทรมาลัย. ปัจจัยทำนายและแนวทางลดความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดา-ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560;9:128-38.

ประยูร พรหมทัต, จตุพร วงศ์วัฒนากานต์. ความสัมพันธ์คุณภาพการบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้คลอดที่สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562;13:23-34.

วรรณวดี เนียมสกุล. ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9:1-17.

กัญญาพัชญ์ จาอ้าย, เยาวเรศ สมทรัพย์, ชัชฎาภรณ์ นันทขว้าง, อมรเลิศ พันธ์วัตร์. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อทักษะความคิดเชิงระบบของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค ในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2562;25:23-35.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, พักตร์วิไล ศรีแสง, อุสาห์ ศุภรพันธ์. ความต้องการวิธีการเรียนรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2559;39:88-97.

Barry CD, Gordon SC, King BM. Nursing case studies in caring: Across the practice spectrum. New York: Springer Publishing Co; 2015.

ภรณี เลื่องอรุณ, สุภาพร วรรณสันทัด, อริสา จิตต์วิบูลย์, จีระภา นะแส. การพัฒนารูป แบบการเรียนการสอนที่สอดแทรกแนวคิดการเอื้ออาทรในวิชาปฏิบัติการพยาบาล มารดา ทารก และ ผดุงครรภ์ 1. วารสารพยาบาล 2012;61:25-33.

King BM, Barry CD, Gordon SC. The lived experience of teaching and learning from nursing situations: a phenomenological study. Int J Hum Caring 2015;19:62-5.

King BM, Barry CD. “Caring between” the nurse, the one nursed, and the healthcare robot: an interpreted nursing situation using the barry, gordon, king framework. Int J Hum Caring 2019;23:168-77.

ศศิธร คำพันธ์, ชุติกาญจน์ แซ่ตั้น, อิงหทัย ดำจุติ. การเปรียบเทียบการรับรู้พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรในระยะคลอดระหว่างนักศึกษาพยาบาลกับผู้คลอด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2563;12:15-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30