ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • อดิณา ศรีสมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • สุเพียร โภคทิพย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • จรูญศรี มีหนองหว้า อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

เบาหวานขณะตั้งครรภ์, พฤติกรรมการควบคุมอาหาร, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคแทรกซ้อนทางอายุกรรมที่พบบ่อย และมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อโรครุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์ จึงมีความจำเป็นที่หญิงครรภ์จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน (GDMA2) ที่มานอนพักรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2559 – พฤศจิกายน 2561 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการดูแลตนเองจากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการดูแลตนเองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน และแผ่นซีดีซึ่งบันทึกโปรแกรมนำเสนอทางคอมพิวเตอร์ (Power Point slides) เนื้อหาตามแผนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมอาหาร มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.80 แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด และแบบบันทึกการให้คำแนะนำเมื่อติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที (Independent t–test)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอาหารหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.006) กลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.030) ส่วนค่าระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า โปรแกรมการดูแลตนเองสามารถนำไปใช้กับหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้  

References

Kim SY, Saraiva C, Curtis M, Wilson HG, Troyan J, England L, et al. Fraction of gestational diabetes mellitus attributable to overweight and obesity by race/ethnicity, California 2007-2009. Am J Public Health 2013;103:65-72. doi: 10.2105/AJPH.2013.301469

Titapant V, Pimsen S, Kannikaklang N, Hansiriratanaskul N, Wuttiviboonchok W, KnogKaew S, et al. Annual statistical report 2007. Bangkok: Faculty of Medicine, Siriraj Hospital; 2007.

Warunpitikul R, Aswakul O. The Incidence of diabetes mellitus in pregnant women and its outcomes between pregnant women with diabetes mellitus and non-diabetes mellitus at Maharat Nakhon Ratchasima hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2014;22:81-87.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. รายงานสถิติหน่วยฝากครรภ์ประจำปี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์; 2558

มณีภรณ์ โสมานุสรณ์, ดวงหทัย ศรีสุจริต, ปราชญาวตี ยมานันตกุล, ปราณี แสดคง, วัจมัย สุขวนวัฒน์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์: ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. กรุงเทพมหานคร: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2551.

Murfet GO, Allen P & HINGSTON TJ. Maternal and neonatal health outcomes following the implementation of an innovative model of nurse practitioner-led care for diabetes in pregnancy. Journal of Advanced Nursing 2014;70:1150-63.

Eman MA. Gestational diabetes mellitus. Saudi Med J 2015;36:399-406.

Setji TL, Brown AJ & Feingios MN. Gestational diabetes mellitus. Clinical Diabetes 2005; 23:17-24. doi: https://doi.org/10.2337/diaclin.23.1.17

Bone LR. Big Babies: An exploration of gestational diabetes. International Journal of Childbirth Education 2015;30:42-46.

สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:191-204.

เวรุกา พรกุณา, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. ผลของโปรแกรม ต่อความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาล และการกลับมารักษาซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32:135-142.

อังคณา ชูชื่น, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด ในหญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32:60-67.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, พัชรี จันทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2557;37:51-59.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30:98-105.

จินตนา บัวทองจันทร์, อุบล สุทธิเนียม, เสมอจันทร์ ธีระสัฒน์สกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญอาหารผิดปกติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2556;19:46-59.

Orem ED. Nursing Concepts of practice. 5th ed. St.Louis: Mosby Year Book; 2001.

Schlesselman JJ. Planning a longitudinal study I: sample size determination. J Chron Dis 1973;26:234-65.

พัชรี จันทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28