การรับรู้และการจัดการตนเองเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ลักขนา ชอบเสียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • เชาวลิต ศรีเสริม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • พรธิรา บุญฉวี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • จุฑามาศ ทองประสาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ณัฐพงษ์ ศรีชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์, การรับรู้, การจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

การกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและมีผลกระทบต่อจิตใจ   ของผู้ถูกกระทำ ส่งผลให้ได้รับความทุกข์และความเจ็บปวดทางจิตใจ การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการจัดการตนเองเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล   ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 250 คน ที่มีอายุระหว่าง 17 - 25 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วน  คือ ข้อมูลทั่วไปการรับรู้และการจัดการตนเองเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ ค่าความเที่ยงการรับรู้  เท่ากับ 0.86 และการจัดการตนเองเท่ากับ 0.99  วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 138 คน (ร้อยละ 55.2) เคยถูกกลั่นแกล้งผ่านสังคมออนไลน์ การกลั่นแกล้งที่พบมากที่สุด คือ การโพสต์ข้อความทำให้เสียชื่อเสียง (ร้อยละ 24.6) โดนบล็อกหรือลบออกจากกลุ่ม (ร้อยละ 23.2) และเผยแพร่วิดีโอ รูปภาพที่น่าอับอาย (ร้อยละ 14.7) ตามลำดับ และพบว่าการรับรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.68, S.D. = 0.55) โดยมีการรับรู้ทางสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 2.74, S.D. = 0.88) รองลงมาเป็นการรับรู้ทางกาย (gif.latex?\bar{X}= 2.67, S.D. = 0.58) และการรับรู้ทางจิต (gif.latex?\bar{X} = 2.63, S.D. = 0.63) ตามลำดับ สำหรับการจัดการตนเองเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.01, S.D. = 0.84) โดยเป็นการควบคุมการตอบสนองด้านอารมณ์มากที่สุด  (gif.latex?\bar{X}= 4.07, S.D. = 0.80) รองลงมาคือการควบคุมการตอบสนองด้านหน้าที่ (gif.latex?\bar{X}= 3.95, S.D. = 0.88) ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาการถูกกลั่นแกล้งบนสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลในลำดับต่อไป

Author Biography

ลักขนา ชอบเสียง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ลักขนา ชอบเสียง. (2558). การจัดการตนเองและครอบครัวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา,  16(3), 2-12.

สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, อรุณศรี ผลเพิ่ม, ญาณี แสงสาย, ลักขนา ชอบเสียง. 2557. Nursing Student’s Experience in Caring For Dying Patienis . เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) Nakhon Phanom National and International Conference in Healthcare (NPNICH) 1st ณ Nakhon Phanom University, Thailand July 7 -10 , 2014 Page 68 – 77.

จรูญศรี มีหนองหว้า, สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, ลักขนา ชอบเสียง, จตุพร จันทะพฤกษ์, ภควรรณ ตลอดพงษ์, ไวยพร พรมวงศ์. 2557. การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบบันทึกการสะท้อนคิดในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลสาหรับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 และ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพ สิทธิประสงค์. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) ในการประชุมใหญ่และนาเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ เรื่อง สห วิทยาการ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ ประชาคมอาเซียน multidisciplinary on cultural Diversity Towards the ASEAN Community ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2557

หน้า 1511-1512 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ อ.เมือง จ.ตรัง.

จรูญศรี มีหนองหว้า(Jaroonsree Meenongwah), ดร.พรรณทิพา แก้วมาตย์(Puntipa Kaewmataya), เยาวเรศ ประภาษานนท์(Yaowaret Prapasanon), อุดมวรรณ วันศรี(Udomwan Wansri),

 ไวยพร พรมวงศ์(Waiyaporn Promwong), ลักขนา ชอบเสียง (Lukana Chopsiang), กุลธิดา กุลประฑีปัญญา(Kulthida Kulprateepanya). 2557. The Study of Needs of Knowledge Related to Food and Nutrition Resources of Community in Thailand: A Case Study of Ubon Ratchathani Province. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 18th World Congress on Clinical Nutrition (WCCN) "Agriculture, Food and Nutrition for Health and Wellness" Ubon Ratchathani, Thailand, December 1-3, 2014.

พรรณทิพา แก้วมาตย์, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, จรูญศรี มีหนองหว้า, ลักขนา ชอบเสียง, ภาวิณี แววดี, การประเมินผลการดำเนินเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10  นำเสนอโปสเตอร์  ในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 6th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Regional Countries

(6th ICPH-GMS: 2014) ระหว่างวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์คอนเวนชั่นขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 

สุนันท์  แมนเมือง, ลักขนา ชอบเสียง, ชุลีพร  ตวนกู. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี, วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550;1(2) : 174-181.

(ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค. – ก.ย. (ฉบับเสริม 1))

References

Patchin JW. Summary of our research (2007-2019) [Internet]. 2019 [cited 2020 Apr 5]. Avaiable from: https://cyberbullying.org/summary-of-our-cyberbullying-research

Dehue F, Bolman C, Vollink T. Cyberbullying: youngsters’ experiences and parental perception. Cyber Psychology & Behavior 2008;11:217–23.

Tokunaga RS. Following you home from school: A critical review and synthesis of research on cyberbullying victimization. Computers in Human Behavior 2010;26:277–87.

doi:10.1016/j.chb.2009.11.014

Zhou Z, Tang H, Tian Y, Wei H, Zhang F, Morrison CM. Cyberbullying and its risk factors among Chinese high school students. School psychology international 2013;34:630-47. doi: 10.1177/0143034313479692

Udris R. Cyberbullying in Japan: An exploratory study. IJCSE 2015;8:59-80. doi: 10.7903/ijcse.1382

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ไทยอันดับ2 เด็กรังแกกันในโรงเรียนพบเหยื่อปีละ 6 แสนคน [อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27485

เชาวลิต ศรีเสริม,โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี. พฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ : ผลกระทบ การป้องกัน และบทบาทพยาบาลจิตเวช. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562;20:15-27.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. อย่าปล่อยให้เด็กถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ [อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28079

โพสต์ทูเดย์. Stop Bullyingหยุดการกลั่นแกล้ง ยุติความรุนแรงในสังคม [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/603557

ปองกมล สุรัตน์. การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม:กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจเนอเรชั่นZ [ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

Guo SA. Meta-analysis of the predictors of cyberbullying perpetration and victimization. Psychol Sch 2016;53: 432-53. doi: 10.1002/pits.21914

Rivituso J. Cyberbullying victimization among college students: An interpretive phenomenological analysis. JISE 2014;25:71- 5.

Weber NL, Pelfrey Jr. WV. Cyberbullying: Causes, Consequences, and Coping Strategies. El Paso, TX: LFB Scholarly; 2014.

สรานนท์ อินทนนท์,พลินี เสริมสินสิริ. การศึกษาวิธีการป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2; 8 มิถุนายน 2561; มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร; 2561. หน้า 1396-406.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก 2562 [อินเตอร์เนต]. 2562

[เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0040.PDF

สุขภาพจิต. ทฤษฎีตัวตนของโรเจอร์ [อินเตอร์เนต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://inee06.blogspot.com/2016/01/blog-post_61.html?m=1

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. ทฤษฎีการควบคุมตนเอง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล เด็กและครอบครัว. วารสารสภาการพยาบาล 2553;25:23-33.

Bleidorn W, Arslan RC, Denissen JJA, Rentfrow PJ, Gebauer JE, Potter J, et al. Age and gender differences in self-Esteem; A cross-cultural window. J Pers Soc Psychol 2016;111:396-410. doi: http://dx.doi.org/10.1037/pspp00000784

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, สุจินดา ย่องจีน และสาลินี จันทร์เจริญ. โครงการสำรวจประชามติ พฤติกรรมการข่มเหงรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียน เขตกรุงเทพมหานคร [อินเตอร์เนต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 22 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.wport.org/survey/detail/9

Ortega R, Elipe P, Mora-Merchán JA, Genta ML, Brighi A, & Guarini A. The emotional impact of bullying and cyberbullying on victims: An European cross-national study. Aggress Behav 2012;385:342-56.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html

Hinduja S, Patchin JW. Cyberbullying: An exploratory analysis of factors related to offending and victimization. Deviant Behavior 2008;29:129-56.

Hinduja S, Patchin JW. Bullying, cyberbullying, and suicide. Archives of Suicide Research 2010;14:206-21.

ณัฐฐา วินิจนัยภาค. ทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ [อินเตอร์เนต]. 2560 [เข้าถึง เมื่อ 22 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nidapoll.nida.ac.th

วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์, พิมผกา ธานินพงศ์. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า 2558;1:128-44.

Schenk AM, Fremouw WJ. Prevalence, psychological impact and coping of cyberbully victims among college students. Journal of School Violence 2012;11:21-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29