การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ภราดร ยิ่งยวด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • ปราโมทย์ ถ่างกระโทก อาจารย์พยาบาล สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • วริณญา อาจธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • ณัฐปัณฑ์ เพียรธัญญกรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิศิษฐ์ พลธนะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • วินัย ไตรนาทถวัลย์ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

นวัตกรรมเป็นฐาน, การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกระบวนการ และผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่ผ่านการเรียนวิชาทางการพยาบาล วิจัยทางการพยาบาล และมีประสบการณ์ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เทปบันทึกเสียง และแบบบันทึกข้อมูลจากการสังเกต เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ ตรวจสอบความถูกต้องและความเชื่อมั่นของผลการวิจัยด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามแหล่ง และการตรวจสอบแบบสามแหล่งผู้วิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน มี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา 2) องค์ความรู้พื้นฐานเดิม 3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ และ 4) การทำงานเป็นทีม 2. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหา 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การเลือกนวัตกรรม 4) การออกแบบนวัตกรรม 5) การทดลองใช้นวัตกรรม และ 6) การนำนวัตกรรมไปใช้จริง และ 3. ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ คือ ผลงานนวัตกรรม

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา และพัฒนาหรือออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม ตลอดจนเป็นแนวทางการกำหนดบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้มีคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ และมีความสามารถและทักษะด้านนวัตกรรมต่อไป

References

McGunagle D, Zizka L. Employability skills for 21st-century STEM students: the employers' perspective. HESWBL 2020;10:591-606.

พิณนภา หมวกยอด. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 2561;44:150-84.

Herzlinger RE, Ramaswamy VK, Schulman KA. Bridging health care’s innovation-education gap. Bright, MA: Harvard Business Publishing; 2014.

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา. รายงานสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ปีการศึกษา 2561. นนทบุรี: กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี; 2561.

Geissdoerfer M, Savaget P, Evans S. The Cambridge business model innovation process. Procedia Manufacturing 2017;8:262-9.

สุมนา โสตถิผลอนันต์. แนวทางในการสร้างสรรค์บรรยากาศในชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูมืออาชีพ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;13:373-88.

Von Bertalanffy L. General System Theory: Foundations, Development, Applications: Georges Braziller, Inc.; 1993.

Liamputtong P. Focus Group Methodology: Principles and Practice. London: SAGE Publications; 2011.

Patton MQ. Qualitative evaluation and research methods, 2nd ed. Thousand Oaks, CA, US: Sage Publications, Inc; 1990.

Johnson LJ, LaMontagne MJ. Using content analysis to examine the verbal or written communication of stakeholders within early intervention. J Early Interv 1993;17:73-9.

Urbancova H. Competitive advantage achievement through innovation and Knowledge. J Competitiveness 2013;5:82-96.

ภัทรียา ดำรงสัตย์, วารุณี สุวรวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562;2:219-28

Shatto B, Erwin K. Teaching millennials and generation z: Bridging the generational divide. Creat Nurs 2017;23:24-8.

Gowanit C, Thawesaengskulthai N, Sophatsathit P, Chaiyawat T. Information technology systems of service process innovation. ARPN JEAS 2015;10:488-98.

Skogstad PL, Currano RM, Leifer LJ. An experiment in design pedagogy transfer across cultures and disciplines [Internet]. 2008 [cited 2020 Jun 2];24:367–76. Available from: https://www.researchgate.net/publication/233503791_An_Experiment_in_Design_Pedagogy_Transfer_Across_Cultures_and_Disciplines

นวพร ชลารักษ์. บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 2558;9:64-71.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย, ประกอบ คุปรัตน์. นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ 2561;33:49-65.

Huesig S, Endres H. Exploring the digital innovation process: The role of functionality for the adoption of innovation management software by innovation managers. Eur J Innov Manag 2019;22:302-14.

สิน งามประโคม, เกษม แสงนนท์, พระมหาสมบัติ ธนปัญญโญ. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2561;5(พิเศษ):74-82.

สุทธิกร แก้วทอง, กุลรภัส เทียมทิพร. การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาร่วมกับรายวิชาหลักการส่งเสริมสุขภาพต่อการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ 2560;1:38–46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-27