ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ Malondialdehyde ในพลาสมากับพารามิเตอร์ของการมีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของผู้เข้ารับบริการในคลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อรอุมา สร้อยจิต คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • สุวิทย์ คล่องทะเล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ภูมภัสส์ พุทธผดุงวิพล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะเครียดออกซิเดชั่น, มาลอนไดอัลดีไฮด์, เมตาบอลิกซินโดรม

บทคัดย่อ

ภาวะเครียดออกซิเดชันเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการเกิดอนุมูลอิสระที่มากเกินไปร่วมกับ การพร่องของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายส่งผลให้เซลล์เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไขมันจะถูกทำลายโดยกระบวนการ lipid peroxidation (LPO) ได้ผลผลิตสุดท้ายคือ Malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำคัญในการประเมินภาวะเครียดออกซิเดชัน กระบวนการ LPO มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน ซึ่งล้วนเป็นพารามิเตอร์ของการมีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome, MetS) ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่ประเมินระดับ MDA ในพลาสมาของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการตรวจสุขภาพที่คลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และหาความสัมพันธ์กับพารามิเตอร์ของ MetS

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง จากอาสาสมัครทั้งหมด 128 คน เป็นผู้หญิง 75.2% อายุระหว่าง 18-65 ปี ค่ากลางมัธยฐาน 48 (39-57) ปี มีการประเมินโดยวัดส่วนต่างๆของร่างกายและตรวจวิเคราะห์ค่าชีวเคมีในเลือด ตรวจวัดระดับ MDA ในพลาสมาด้วยวิธี Thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) แบ่งระดับของ MDA ในพลาสมาเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ MDA ในพลาสมาสูงและกลุ่มที่ MDA ในพลาสมาปกติ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ MDA ในพลาสมาสูงพบความชุกของ MetS เพิ่มขึ้น ค่าความยาวเส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารและระดับไตรกลีเซอไรด์สูง แต่ระดับ เอชดีแอล - โคเลสเตอรอลต่ำกว่ากลุ่มที่ MDA ในพลาสมาปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์พบความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างระดับ MDA ในพลาสมาที่สูงขึ้นกับการเกิด MetS  รวมไปถึงพบความสัมพันธ์กับระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ระดับเอชดีแอล-คอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และโรคอ้วนลงพุง ตามลำดับ        

โดยสรุประดับ MDA ในพลาสมาที่สูงขึ้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในกลุ่มโรค MetS

References

Wagner KH, Brath H. A global view on the development of non Communicable diseases. Prev Med 2012;54:38-41.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กลุ่มโรค NCDs [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173- กลุ่มโรค+NCDs.html

อธิป ลิขิตลิลิต. อนุมูลอิสระแหล่งกำเนิดและการเกิดโรค. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2557.

Gubory HA. Environmental pollutants and lifestyle factors induce oxidative stress and poor prenatal development. Reprod Biomed Online 2014;29:17-31.

Advani R, Sorenson S, Shinar E, Lande W, Rachmilewitz E, Schrier SL. Characterization and comparison of the red blood cell membrane damage in severe human alpha- and beta-thalassemia. Blood 1992;79:1058-63.

KuyÍenhoÍen JP, Brownlee M, Malaise WJ. Oxidative stress and diabetes mellitus Pathogenesis of long-term complications. Eur J Intern Med 1999;10:9-19.

Moreto F, Oliveira EP, Manda RM, Burin RC. The higher plasma malondialdehyde concentrations are determined by metabolic syndrome-related glucolipotoxicity. Oxid Med Cell Longev 2014;2014:1-7.

Grundy SM, Brewer HB, Cleeman JI, Smith SC, Lenfant C. American Heart Association, & National Heart, Lung, and Blood Institute. Definition of metabolic syndrome: Report of the National Heart, Lung, and Blood Institute/American Heart Association conference on scientific issues related to definition. Circ J 2004;109:433–8.

Zhao J, Kelly M, Bain C, Seubsman SA, Sleigh A. The Thai Cohort Study Team, Risk Factors for Cardiovascular Disease Mortality Among 86866 Members of the Thai Cohort Study, 2005-2010. Glob J Health Sci 2015; 7:107-14.

ทิพย์สุดา อินเสมียน, สิรินทร์ คลี่เกียรติคุณ, สุชาดา หนูปล้อง, สุนิศา สมุทรไชยกิจ, อุมารินทร์ ภักดีโชติ. การตรวจระดับ Malondialdehyde ใน พลาสมาในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.

Botsoglou NA, Fletouris DJ, Papageorgiou GE, Vassilopoulos VN, A Mantis J, Trakatellis AG. “Rapid, sensitive, and specific thiobarbituric acid method for measuring lipid peroxidation in animal tissue, food, and feedstuff samples,” J Agric Food Chem 1994;9:1931-7.

กาญจนา สุริยะพรหม. เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใน: ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์; 2557. หน้า 63–82.

เดช ดอกพวง และคณะ. สภาวะเครียดออกซิเดชันของผู้ป่วยเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานในโรงพยาบาลพะเยา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4; 10 พฤษภาคม 2556.

Britesa F, Martina M, Guillasb I, Kontushb A. Antioxidative activity of high-density lipoprotein (HDL): Mechanistic insights into potential clinical benefit. BBA Clin 2017;8:66–77.

Navab M, Ananthramaiah GM, Reddy ST, Van Lenten BJ, Ansell BJ, Fonarow GC, et al. The oxidation hypothesis of atherogenesis: the role of oxidized phospholipids and HDL. J Lipid Re 2004;45:993-1007.

Mahjoub S, Roudsari JM. Role of oxidative stress in pathogenesis of metabolic syndrome. Caspian J Intern Med 2012;3:386-96.

Goldin A, Beckman JA, Schmidt AM, Creager MA. “Advanced glycation end products: sparking the development of diabetic vascular injury”. Circ J 2006;114:597–605.

Hirano T. Pathophysiology of Diabetic Dyslipidemia. J Atheroscler Thromb 2018;25:77-82.

Halliwell B, Murcia MA, Chirico S, Aruoma OI. Free radicals and antioxidants in food and in vivo: what they do and how they work. Crit Rev Food Sci Nutr 1995;35:7-20.

Babior BM. NADPH oxidase. Curr Opin Immunol 2004;16:42-7.

Klebanoff SJ. Myeloperoxidase. Proc Assoc Am Physicians 1999;111: 383-9.

Roebuck KA. Oxidant stress regulation of IL-8 and ICAM-1 gene expression: differential activation and binding of the transcription factors AP-1 and NF-kappaB. Int J Mol Med 1999;4:223–30. doi: 10.3892/ijmm.4.3.223

Masaki T, Sawamura T. Endothelin and endothelial dysfunction. Proc Jpn Acad Ser B Phys Biol Sci 2006;82:17-24.

Libby P. Inflammation in atherosclerosis. Arterioscler Thromb Vasc Biol 2012;32:2045-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28