การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทย โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับอำเภอเขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • ลัดดา เหลืองรัตนมาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัญญาวีณ์ โมกขาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • นิศารัตน์ ยุวพัฒนวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่, เครือข่ายความร่วมมือ

บทคัดย่อ

การเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ จำเป็นต้องเร่งรัดดำเนินงานช่วยเหลือให้ประชาชนเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทย โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,870 คน จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจการเปลี่ยนแปงพฤติกรรม และกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ตรวจสอบค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่า 6 เดือน ร้อยละ 16   และเลิกบุหรี่เป็นเวลา 6 เดือน ร้อยละ 12.7 ค่าเฉลี่ยกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีค่าน้อยที่สุดในระยะก่อนชั่งใจ ( gif.latex?\bar{X}= 3.11, S.D.= 0.92) และเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในระยะชั่งใจ (gif.latex?\bar{X} = 3.47, S.D. = 0.56) ส่วนระยะพร้อมปฏิบัติ ปฏิบัติ และคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ( gif.latex?\bar{X}= 3.58, S.D. = 0.64, gif.latex?\bar{X}= 3.68, S.D. gif.latex?\bar{X}= 0.55, gif.latex?\bar{X}= 3.69, S.D. = 0.55)  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในขั้นตอนชั่งใจ พร้อมปฏิบัติ ปฏิบัติ และคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเสริมแรงในการจัดการอยู่ในระดับสูงส่วนในขั้นตอนก่อนชั่งใจ อยู่ในระดับปานกลาง

ดังนั้นจึงควรสร้างความตระหนักให้บุคลากรทีมสุขภาพ ในการเสริมแรงจูงใจ ให้ปรับเปลี่ยนพฤตกิรรมการเลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งพัฒนาระบบการติดตามภายหลังเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างเครือข่ายชุมชน เพื่อให้เกิดการเลิกบุหรี่ได้อย่างยั่งยืน

References

World Health Organization. World health statistics 2016: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Switzerland: WHO Press; 2016.

ประกิต วาทีสาธกกิจ. ก้าวต่อไปของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2559.

อรวรรณ สัมภวมานะ, ดวงเดือน อินทร์บํารุง, ดวงหทัย ศรีสุจริตและรัชฎาภรณ์ เที่ยงสุข. การสังเคราะห์รูปแบบ การจัดการปัญหาบุหรี่ในระดับชุมชน. วารสารพยาบาล 2559;1:11–8.

Prochaska JO. Measuring process of change: Applications to the cessation of smoking. Journal of Consulting and Clinical Psycohology 1988;56:520-8.

พรรณี ปานเทวัญ และอายุพร ประสิทธิเวชชากูร. การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;1:36-44.

ทัศนีย์ ผลชานิโก แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับที่ 2 (ปี 2558- 2562). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ญาณินท์ ศรีทรงเมือง. ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของพลทหาร ค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี [ปริญญานิพนธ์วิทยาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.

Prochaska JO, Velicer WF . The transtheoretical model of health behavior change. AmJ Health Promot 1997;1:38-48

Li L, Borland R, Yong H-H, Fong GT, Bansal-Travers M, Quah AC, et al. Predictors of smoking cessation among adult smokers in Malaysia and Thailand: findings from the international tobacco control smoothest Asia survey. Nicotine Tob Res 2010;12 Suppl1:S34-S44.

ผ่องศรี ศรีมรกต. แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการบำบัดเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่. กรุงเทพมหานคร: มณัสฟิลม์; 2552.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว. รูปแบบพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ที่เข้ารับการบำบัดในคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล 2555;3:7- 20.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. รายงานการสรุปผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการดำเนินงานสร้างสรรค์ ชวน เชิญเลิกบุหรี่ทั่วไทยภายใต้การขับเคลื่อน “โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี. 2562.

ภานิสา ระยา, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, และ กรกนก ลัธธนันท์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ตามแบบจำลองขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;2:9-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-27