คุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • อุตม์ชญาน์ อินทเรือง อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, บัณฑิตพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของบัณฑิตพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ปีการศึกษา 2558-2560  จำนวน 240 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามคุณภาพชีวิตบัณฑิตพยาบาล ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวม อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 2.92, S.D. = 0.33) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านร่างกายอยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{X}= 2.99, S.D. = 0.34) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{X}= 2.89,  S.D.= 0.37) คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{X}= 2.97, S.D. = 0.34) และคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี(gif.latex?\bar{X}= 2.82, S.D.=0.41)

ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับอาจารย์ในการวางแผนจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาในภาคปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติการพยาบาล และกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และสำหรับหน่วยงานที่บัณฑิตใหม่ไปปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ในการวางแผนการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการปฏิบัติงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วย และญาติ และจัดพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อเป็นที่ปรึกษาและนิเทศงานให้แก่บัณฑิตใหม่อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ปฏิบัติงานใหม่ ต่อไป

References

ชญาลักษณ์ สิริภักดีกาญจน์และเบญจมาศ บุญรับพายัพ. การพัฒนาบันไดวิชาชีพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:75-80.

วิจิตร ศรีสุพรรณ และ กฤษดา แสวงดี. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27:5-12.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสุขภาพโรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์: กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลสุรินทร์; 2560.

ปริญญา แร่ทองและธีรนุช ห้านิรัติศัย. ประสบการณ์เปลี่ยนบทบาทจากนักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27:51-62.

วิลาสินี โอภาสถิรกุล ชวพรพรรณ จันทร์ประเสริฐ และธานี แก้วธรรมานุกูล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2558;42:49-61.

เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล กฤษดา แสวงดี ดวงทิพย์ ธีระวิทย์ และวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;9:49-60.

บุญธรรม ตันทา, สุเทพ บุญซ้อน และปิยะวรรณ เลิศพานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. การประชุมวิชาการและการนำเสนองานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 1; 1-2 พฤษภาคม 2553; มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยและพัฒนา; 2553.

อารยา สัมพันธพงษ์ สุรชาติ ณ หนองคาย และดุสิต สุจิรารัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล แผนกอายุร กรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;1:94-100.

ชนิญร์นัสท์ อินทุลักษณ์ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. การสร้างสมดุลชีวิตกับการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:382-9.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล ประณีต ส่งวัฒนา สมพร รุ่งเรืองกลกิจ วารุณี ฟองแก้ว วรรณี เดียอิศเรศ ศิริอร สินธุ และนันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ. ความสุขกับความคิดคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27:26-42.

ธัญญธรณ์ ทองแก้ว และศิริลักษณ์ ศุภปิติพร. ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2561;62:197-209.

World Health Organization. Frequently asked questions [Internet]. 2002 [cited 2019 Dec 18]. Available from: https://www.who.int/suggestions/faq/en/

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์; 2553.

สิริพิมพ์ ชูปาน. พยาบาลวิชาชีพ Generation Y : ความท้าทายสำหรับผู้บริหารการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;86:1-12.

ศรีประภา ชัยสินทพ. สภาพจิตใจของเด็ก ผู้ใหญ่ เเละผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/psych/sites/default/files/public/pdf/General_Psychiatry/Psychological%20of%20 adulthood.pdf

สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และกฤษฎา แสวงดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17. รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1; 26 สิงหาคม 2554; มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: ม.ป.พ.; 2554.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกลเลิศ และคณะ. ระดับความเครียดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดและการจัดการกับความเครียดในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2553;28:67-79.

จิราภรณ์ ภู่สมบูรณ์. ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง จังหวัดสกลนคร [ปริญญานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

ประไพ ศรีแก้ว และดุษฎี เอกพจน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการแพทย์ เขต 11 2557;8:101-11.

กัลยา กังสนันท์ และ วิภาวรรณ กลิ่นหอม. คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขตพื้นที่ 1 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2560;6:72-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-28