ความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤตของพยาบาลวิชาชีพงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ปรียาวดี เทพมุสิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ศศิธร ชำนาญผล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสง
  • นิตยา กรายทอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • สุกัญญา ผลวิสุทธิ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • จันทนา นิลาศน์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • จรูญศรี มีหนองหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ความรู้, พยาบาลวิชาชีพ, ภาวะสับสนเฉียบพลัน, ผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต

บทคัดย่อ

ภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยวิกฤต พบมากในห้องผู้ป่วยหนัก ความรู้ของพยาบาลที่อยู่ในห้องผู้ป่วยหนักเกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่มีพยาบาลให้ความสนใจน้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤตของพยาบาลวิชาชีพในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพในงานห้องผู้ป่วยหนักผู้ใหญ่ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 42 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีผลคะแนนความรู้ ดังนี้ 1) คะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน มีคะแนนระหว่าง 14-23 คะแนน โดยมีค่าเฉลี่ย 19.19 (SD = 2.53) 2) คะแนนความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังมีคะแนนระหว่าง 8-14 คะแนน โดยมีค่าเฉลี่ย 12.83 (SD=1.27) และ 3) คะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลัน มีคะแนนระหว่าง 5-13 คะแนน ค่าเฉลี่ย 10.86 (SD=1.75) นอกจากนี้ยังพบว่า พยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงานใน ICU มากกว่า 10 ปี มีความรู้อยู่ในระดับมาก มากที่สุด ร้อยละ 73.50 การเฝ้าระวัง ร้อยละ 70.73 และการจัดการ ร้อยละ 66.67 ผลการศึกษาครั้งนี้ควรเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันให้กับพยาบาลที่มีประสบการณ์น้อยในงานห้องผู้ป่วยผู้ป่วยหนักเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน

References

Hickin SL, White S, Knopp-Sihota J. Delirium in the Intensive Care Unit- A Nursing Refresher. Canadian Journal of Critical Care Nursing 2017;28:19-23.

Salluh JIF, Wang H, Schneider EB, Nagaraja N, Yenokyan G, Damluji A, et al. Outcome of delirium in critically ill patients: systematic review and meta-analysis. BMJ. 2015;350:h2538.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี. อุบัติการณ์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลอุดรธานี[อินเตอร์เนต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 25 ต.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.168.8/research/index.php?option=com_
content&view=article&id=75:acute-confusion&catid=1:latest-news

ฐิติมา ลำยอง, ชนกพร จิตปัญญา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยไอ ซี ยู ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2555;23:20-30.

Cairns P, Calero K, Prater J, Munro C. Environmental Light and Delirium in the Intensive Care Unit. AACN. 2017;26:E34.

Brummel NE, Vasilevskied EE, Han JH, Boehm L, Pun BT, Ely EW. Implementing Delirium Screening in the ICU: Secrets to Success. CCM. 2013;41:2196-208. 7. Balas MC, Vasilevskis EE, Burke WJ, Boehm L, Pun BT, Olsen KM, et al. Role in Implementing the “ABCDE Bundle” into Practice. Crit Care Nurse 2012;32:35-8.

Elfeky H, Ali FS. Nurses’ Practices and Perception of Delirium in the Intensive Care Units of a Selected University Hospitals in Egypt. IISTE Journals 2013;4:61-71.

สุพัตรา อุปนิสากร, อุรา แสงเงิน, ประสบสุข อินทรักษา, ทิพมาส ชิณวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต. วารสารเวชบำบัดวิกฤต 2554;17: 6-12.

Christensen M. An Exploratory Study of Staff Nurses’ Knowledge of Delirium in the Medical ICU : An Asian perspective. Intensive Crit Care Nurs. 2014; 30:54-60.

Andrews L, Silva SG, Kaplan S, Zimbro K. Delirium Monitoring and Patient Outcomes in a General Intensive Care Unit. Am J Crit Care. 2015;24:48-56.

Benner PE. From Novice to Expert [อินเตอร์เนต]. 2011 [เข้าถึงเมื่อ 25 ต.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://currentnursing.com/nursing_theory/patricia_benner_from_novice_to_expert.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-29