ทุนทางสังคมกับการพัฒนานโยบายสาธารณะ ประเด็นการดูแลผู้สูงอายุของเขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • วรนาถ พรหมศวร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, นโยบายสาธารณะ, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ โดยทุนทางสังคมของเขตสุขภาพที่ 9 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ด้วยวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาบริบทของพื้นที่ 2) ระยะศึกษากระบวนการการพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดการของทุนทางสังคม และ 3) ระยะสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหมายของการพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นการดูแลผู้สูงอายุว่าเป็นการทางานโดยใช้ “หัวใจเดียวกัน” 2) กระบวนการการพัฒนานโยบายสาธารณะใช้หลัก “สร้าง” และ 3) ปัจจัย เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการพัฒนานโยบายสาธารณะในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ “ใจประสานใจ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สนุก ทำจริงและไปข้างหน้า”นโยบายสาธารณะเข้มแข็งด้วยทุนทางสังคม เป็นการนำแนวคิดการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง โดยเชื่อว่าคนในชุมชนมีศักยภาพสามารถพัฒนาตนเองและชุมชนของตนได้ เพราะในแต่ละชุมชนมิได้มีลักษณะว่างเปล่าทางความรู้แต่ในทางตรงกันข้ามทุกชุมชนมีองค์ความรู้และมีภูมิปัญญาที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตนเองได้

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). เรื่องควรรู้เมื่อเข้าสู่ผู้สูงวัย [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/423792561.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2561.

กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ระบบการดูแลระยะยาว: การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย. รามาธิบดีสาร 2551;14:358-98.

ขนิษฐา นันทบุตร, พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, จารุณี สรกฤช, อุไร จเราประพาฬ, พรรณิภา ไขยรัตน์ และคณะ. คู่มือการจัดการความรู้พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3); 2557.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. คู่มือการจัดการความรู้ พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3); 2553.

Thanakwang K, Ingersoll-Dayton B, Soonthorndhada K. The relationships among family, friends, and psychological well-being for Thai elderly. Aging Ment Health 2012;16:993-1003.

ขนิษฐา นันทบุตร. กรอบกระบวนการวิจัยชุมชนสู่ตำบลสุขภาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ที คิว พี; 2555.

Denzin, N.K., & Lincoln, Y.S. Handbook of qualitative research. 2nd ed. Thousand Oaks: London: Sage Publication Inc.; 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-28