การพัฒนาความรู้ ในการประเมินและทักษะการจัดการความปวด ในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
คำสำคัญ:
RAT model, ความรู้, การประเมินความปวด, การจัดการความปวด, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การประเมินและทักษะการจัดการความปวด เป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็น ในการฝึกภาคปฏิบัติ RAT Model ที่ช่วยส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนได้ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ในการประเมินและการจัดการความปวด โดยการใช้ RAT Model ในนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 149 คน ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) วิธีการประเมินและการจัดการความปวดตามกรอบ RAT Model ประกอบด้วย 1.1) Recognize ตระหนักรับรู้ความปวด 1.2) Assess ประเมินความปวด และ 1.3) Treat ให้การช่วยเหลือ 2) กรณีศึกษา และ 3) แบบสอบถามความรู้ในการประเมินและการจัดการความปวด จำนวน 25 ข้อ ส่วนที่ 1 แบบถูกผิด จำนวน 15 ข้อ และส่วนที่ 2 แบบเลือกตอบ จำนวน 10 ข้อ หาความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.82 ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่า KR 20 เท่ากับ 0.89 ค่าความยากง่าย p เท่ากับ .53 และ r เท่ากับ .42. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 19 - 24 ปี อายุเฉลี่ย 20.32 ปี (SD = 1.53) ความรู้ในการประเมินและการจัดการความปวดก่อนการพัฒนามีคะแนน เฉลี่ย 13.10 (SD = 1.86) หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 20.97 (SD = 1.75) และก่อนการพัฒนาร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามได้คะแนนเกินครึ่ง ร้อยละ 82.87 หลังการพัฒนา ร้อยละ 100 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และการจัดการความปวดหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 ดังนั้นการสอนโดยใช้ RAT Model สามารถใช้เป็นวิธีการสอนที่พัฒนาความรู้นักศึกษาในการประเมินและการจัดการความปวดได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถ วางแผนให้การพยาบาลกับผู้ป่วยที่มีปัญหาการปวด ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
ศรีสุดา งามขา, นิสา ครุฑจันทร์, จุฑารัตน์ สว่างชัย, บุญเตือน วัฒนกุล, ศศิธร ชิดนายี, รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและการจัดการกับความปวดของพยาบาลไทย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36:81-9.
อนงค์ สุทธิพงษ์, อัจฉรา อ่วมเครือ, ปาริฉัตร อารยะจารุ. การพัฒนาระบบการจัดการความปวดที่มีความเฉพาะต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2556;40:85-99.
Greco MT, Roberto A, Corli O, Deandrea S, Bandieri E, Cavuto S, et al. Quality of cancer pain management: an update of a systematic review of undertreatment of patients with cancer. J Clin Oncol 2014;32: 4149-56.
นุสรา ประเสริฐศรี, วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์, อภิรดี เจริญนุกูล, มณีรัตน์ จิรัปปภา. ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลในการจัดการความปวด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557;7:109-19.
บุญใจ ศรีสถิตนรากุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ; 2553.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ 2558;8: 24-40.
สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด. กรุงเทพฯ: บียอนด์ อินเตอร์ไพรซ์; 2554.
สกลสุภา อภิชัจบุญโชค. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาและความสามารถในการประเมินสภาพปัญหาการหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดของนักศึกษาพยาบาล. วชิรเวชสาร 2558;59:25-34.
บุญเตือน วัฒนกุล, ศรีสุดา งามขำ. ความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลายในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:6-15.
กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, ศรีสุดา งามขำ, ปลื้มจิต โชติกะ, และศุภวดี แถวเพีย. การประเมินและการจัดการความปวดจากการคลอดด้วยกรอบแนวคิด RAT Model. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559;27:160-9.
สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการสอนหลักสูตรความสำคัญในการจัดการความปวดเรื่องการประเมินและการจัดการความปวดตามกรอบ = Recognize assess treatment model (Rat Model). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2559.
รุจิรัตน์ มณีศรี, นุสรา ประเสริฐศรี, อรนุช ประดับทอง. ความรู้และทัศนคติในการจัดการความปวดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารกองการพยาบาล 2555;39:66-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง