การตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ พรมสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อนุชา ตินะลา วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อภิญญา กุลทะเล วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือก, วิชาชีพพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 119 คน แบบสอบถามเกี่ยวข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยที่เข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01-3.50 คิดเป็น ร้อยละ 41.20 มาจากโรงเรียนรัฐบาล ร้อยละ 90.00 มีภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 43.80 ปัจจัยด้านการตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตรการเรียน 2) ด้านค่าใช้จ่าย 3) ด้านทำเลที่ตั้ง และ 4) ด้านชื่อเสียงและคุณภาพของวิทยาลัย โดยภาพรวมพบว่านักศึกษามีระดับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อวิชาชีพการพยาบาลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านหลักสูตรการเรียนมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.79, SD = .72) ด้านค่าใช้จ่ายมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.01, SD = .97) ด้านทาเลที่ตั้งพบว่ามีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.19, SD = .94) และด้านชื่อเสียงและคุณภาพของวิทยาลัยพบว่ามีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.61, SD = .88)

References

ลออ หุตางกูร. จรรยาสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2528.

ทัศนา บุญทอง. ความต้องการกำลังคนสาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารสภาการพยาบาล. 2536;8(4):20-4.

กรรณิการ์ ชุติเวทย์คู. ผลของโปรแกรมบริการสนเทศวิชาชีพการพยาบาลต่อทัศนคติและการพิจารณาเลือกเรียนวิชาชีพการพยาบาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตการศึกษา 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

McClelland, D.C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. The achievement motive. East Norwalk: Appleton-Century-Crofts; 1953.

เขียน วันทนียตระกูล. แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร [อินเตอร์เน็ต]; เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 17 ก.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://asksak2011.wordpress.com/2013/01/30/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD/

กิตติภณ กิตยานุรักษ์. ปัจจัยที่สงผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2551.

เกษรา โพธิ์เย็น. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

ปราณี อ่อนศรี. การเปรียบเทียบและติดตามระดับแรงจูงใจของนักเรียนพยาบาลต่อการเข้าเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. เวชสารแพทย์ทหารบก2555;65:167-75.

ดลฤดี สุวรรณคีรี. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาระหว่างสถานศึกษาของรัฐบาลกับของเอกชน: ศึกษากรณีจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์; 2539.

สุปราณี เสนาดิสัย. รายงานการวิจัยการศึกษาติดตามพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรของโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2518.

สมศรี รัตนปริยานุช และคณะ. การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2532-2542 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยมิชชัน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยมิชชัน; 2545.

สุรสิทธิ์ แก้วใจ. ปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28