ผลของการใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินความรู้และทักษะทางคลินิก รายวิชาปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วัชรีวงค์ หวังมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ชลดา กิ่งมาลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ภาวิณี แพงสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ธวัชชัย ยืนยาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอบ OSCE, การรักษาพยาบาลเบื้องต้น, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การประเมินความรู้และทักษะทางคลินิกเป็นกระบวนการหนึ่งของการประเมินผลการเรียนการสอน รูปแบบการสอบ OSCE อาจเป็นวิธีหนึ่งในการประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทักษะทางคลินิกในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 93 คน กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้ และแบบประเมินทักษะทางคลินิกเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน (IOC = 0.93 และ 0.90 ตามลำดับ) และความเที่ยง (KR-21 = 0.62 และ α = .90 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้และทักษะเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหลังการทดลอง (Mean = 16.9, SD = 2.3; Mean = 162.8, SD = 3.6 9 ตามลำดับ) มากกว่าก่อนทดลอง (Mean = 13.2, SD = 2.9; Mean = 140.9, SD = 14.1) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งคะแนนเฉลี่ยของความรู้และคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการสอบ OSCE ช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะทางคลินิกในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ดังนั้นควรมีรูปแบบการสอบ OSCE เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะทางคลินิกในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

References

สถาบันพระบรมราชชนนก. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555). ม.ป.พ.; 2555.

กลุ่มวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. รายงานผลการดำเนินการรายวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น; 2560.

สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินทักษะทางคลินิกด้วย OSCE. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2559.

รพีพรรณ นาคบุบผา, ไพลิน ถึงถิ่นและมนพร ชาติชานิ. ประสบการณ์การสอบ Objective Structured Clinical Examination (OSCE) การพยาบาลระยะคลอดปกติ กรณีศึกษา : วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2560;11:82-94.

นันทรียา โลหะไพบูลย์กุลและบุญชัย ภาละกาล. ผลของการใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินความรู้และทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและการรับรู้ของอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกของนักศึกษา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23:24-34.

สุภาพร วรรณสันทัด, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, กรองทอง ออมสินและโสภา รักษาธรรม. การพัฒนารูปแบบการสอบ OSCE สำหรับประเมินความรู้และทักษะการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33:138-53.

ประทุม สร้อยวงค์และคณะ. การพัฒนาและทดสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์การฝึกปฏิบัติการพยาบาลรวบยอดทางอายุรศาสตร์สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 โดยใช้ OSCE. วารสารสภาการพยาบาล 2557;29:79-91.

เกสร สายธนู, สงวน ธานี, กิ่งกาญจน์ ชูเมือง, สมจิตต์ ลุประสงค์. การใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1; 29 กรกฏาคม 2559; มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี: ม.ป.พ.; 2558.

Heba AMA, Eman AAA, Nadia YA. The effect of implementing OSCE mandatory training among large Numbers of undergraduate medical surgical Nursing student on their clinical competencies. Journal of nursing and health science 2018;7:46-59.

Seyedeh NM, Houman M, Meimanat H & Fatemeh AL. Effect of objective structured clinical examination on nursing student’s clinical skill. Journal of research in medical and dental science 2018;6:323-9.

ศิริวรรณ ชูกาเนิดและสุระพร ปุ้ยเจริญ. The use of objective structured clinical examination (OSCE) in nursing education. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:236-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27