สถานการณ์กระบวนการให้บริการตรวจสวนหัวใจของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในภาคใต้
คำสำคัญ:
สถานการณ์, กระบวนการ, บริการตรวจสวนหัวใจ, โรงพยาบาลเอกชนบทคัดย่อ
ปัญหาในกระบวนการให้บริการตรวจสวนหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์กระบวนการให้บริการตรวจสวนหัวใจ ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในภาคใต้ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 31 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารการพยาบาล 3 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานตรวจสวนหัวใจ 28 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก
พร้อมบันทึกเทป การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม และสนทนากลุ่ม เพื่อให้เกิดการตรวจสอบแบบสามเส้า ด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแนวคำถามในการสัมภาษณ์
เป็นคำถามปลายเปิด ประกอบด้วย สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการให้บริการผู้ป่วยตรวจสวนหัวใจ ซึ่งตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน และปรับแนวคำถามตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำไปศึกษานำร่องกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 2 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบประเด็นปัญหาในกระบวนการบริการตรวจสวนหัวใจ ดังนี้ 1) การสื่อสารข้อมูลในระยะนัดตรวจสวนหัวใจ
ไม่ชัดเจน 2) การประเมินและการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในระยะก่อนตรวจสวนหัวใจไม่ครอบคลุม 3) การประเมินและการจัดการ
ในระยะตรวจสวนหัวใจไม่ครอบคลุม และ 4) กระบวนการจำหน่ายในระยะหลังตรวจสวนหัวใจล่าช้า และการติดตามต่อเนื่อง
ไม่ชัดเจน ผลการวิจัยสะท้อนความต้องการการพัฒนากระบวนการตรวจสวนหัวใจที่สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการให้การบริการ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติสาธารณสุขสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2566, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf
คมคาย สุวรรณพงศ์, เฟื่องลดา ตัณฑุลกนกรัชต์ และ สุบงกต สุขจิตต์. (2565). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนก่อนการตรวจสวนหัวใจต่อความกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(1). 77-96.
จันทราภรณ์ สร้อยประเสริฐ, อรุณศรี รัตนพรหม และ ปิยธิดา บวรสุธาศิน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในเครือข่ายโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3). 495-506.
ดอกแก้ว ตามเดช และ ณรงค์ ใจเที่ยง. (2565). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1).78-52.
นงค์เยาว์ อินทรวิเชียร. (2562). การศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 2(2). 43-53.
นิตยาภรณ์ จันทร์นคร, ทัศนีย์ แดขุนทด, อุไรวรรณ ศรีดามา และ ปิยนุช บุญกอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยหนักวัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารกองการพยาบาล, 47(1). 39-60.
พรพิไล นิยมถิ่น. (2558). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุจิรา ถูกใจ, ภารดี นานาศิลป์ และ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำาทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. พยาบาลสาร, 47(2). 274-285.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. (2562). การพัฒนาระบบการรับผู้ป่วยที่มาทำหัตถการและผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัด หอผู้ป่วยอายุรกรรม ธท.2. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 5(2), 44-46.
วรรณิภา เจริญศรี, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ และ วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2564). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลหน่วยสังเกตอาการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1). 49-67.
วัลลภ เรือนก๋องเงิน และ ชาญนุวัฒน์พงค์ สมุทร์เวทย์. (2565). การพัฒนารูปแบบระบบการส่งต่อใบนัดออนไลน์แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอมก๋อย. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2(1), 60 -72.
ศศิวิมล บรรจงจัด, จันทิมา อ่องประกฤษ และ ปรียารัตน์ เจริญลาภ. (2565). ผลของการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต (Nakornping Early Warning Score: NEWS) ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2(1). 47-59.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง
สมาคมแพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย. (2562). มาตรฐานและแนวทางการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ. สืบค้น 21 ตุลาคม 2564, จาก https://www.ciat.or.th/wp-content/uploads/2020/01/final-QA-CathLab_Public-Hearing-version-20-01-63.pdf
สุธีรา พึ่งสวัสดิ์, สุภาภรณ์ คงพรหม, ธีรวุฒิ พงศ์เศรษฐไพศาล, นิตย์ธิดำ ภัทรธีรกุล, ใจบุญ แย้มยิ้ม, ศราวุธ สุทธิรัตน์, ... และ ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยในโครงการการเรียนรู้ร่วมกันแบบสหสาขา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 4(2). 7-19.
สุรศักดิ์ มุลศรีสุข, สุปรีดา มั่นคง และ นุชนาฏ สุทธิ. (2565). อาการและอาการแสดง การจัดการอาการด้วยตนเอง และการจัดการที่ห้องฉุกเฉินในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารสภาการพยาบาล, 37(3). 144-158.
Chacko, L., Howard, J. P., Rajkumar, C., Nowbar, A. N., Kane, C., Mahdi, D., ... Ahmad, Y. (2020). Effects of percutaneous coronary intervention on death and myocardial infarction stratified by stable and unstable coronary artery disease. Circulation: Cardiovascular Quality and Outcomes, 13(2). 1-15. doi: 10.1161/circoutcomes.119.006363
Lawton, J. S., Tamis‐Holland, J. E., Bangalore, S., Bates, E. R., Beckie, T. M., Bischoff, J. M., ... Zwischenberger, B. A. (2022). 2021 ACC/AHA/SCAI Guideline for Coronary Artery Revascularization: A report of the American College of Cardiology/American Heart Association Joint Committee on Clinical Practice Guidelines. Circulation, 145(3). e18–e114. doi: 10.1161/CIR.0000000000001039
Stahl, A. N., & King, R. J. (2020). Understanding and using trustworthiness in qualitative research. Journal of Developmental Education, 44(1), 26-28. https://www.jstor.org/stable/45381095
World Health Organization: WHO. (2020). HEARTS: Technical package for cardiovascular disease management in primary health care: Risk-based CVD management. Retrieved October 21, 2021. from https://www.who.int/publications/i/item/9789240001367
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.