Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • เป็นผลงานที่ไม่เคยผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น

    The article must not be previously published, and nor in a review process of another journal or publication.
  • ผลงานที่ส่งมาในรูปไฟล์ Microsoft word เท่านั้น

    The submission file must be in Microsoft Word file format.
  • บทความที่ต้องการส่งเข้ารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องมีการจัดรูปแบบเป็น single-spaced โดยใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK จำนวนหน้า 10-15 หน้า
    The manuscript must use the font TH SarabunPSK, single single-spaced, 10-15 pages.
  • รูปแบบในการเขียนอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงสามารถที่จะเข้าไปดูได้ในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ ซึ่งอยู่ในเวบไซด์ ส่วนของ About the Journal

    The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the manuscript preparation guidelines which can be found in About the Journal.
  • กรุณาให้เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกรณีเร่งด่วน
    Please provide phone number for communication in case of urgent
  • ท่านได้ใส่หมายเลขอนุมัติจริยธรรมการวิจัย
    The ethic approval number has been provided

Author Guidelines

ดาวน์โหลด แนวทางการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ

ดาวน์โหลด หนังสือขอเสนอบทความในวารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ

       การเตรียมต้นฉบับบทความ
1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้ตั้งค่าขนาดกระดาษ A4  ขอบกระดาษ  2 ซม. ทุกด้าน พิมพ์ไม่เว้นบรรทัดและมีเนื้อหารวมบทคัดย่อและเอกสารอ้างอิง10-15 หน้า
2. รูปแบบอักษร
    2.1. บทความภาษาไทย ใช้แบบอักษร Th SarabunPSK ทั้งบทความ
            - ชื่อเรื่องใช้แบบอักษร  Th SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 18
            - ชื่อผู้แต่งใช้แบบอักษร Th SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 14 
            - เนื้อความใช้แบบอักษร Th SarabunPSK ขนาด 16
    2.2. บทความภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร      ยกเว้น
            - ชื่อเรื่องใช้แบบอักษร  Times New Roman ตัวหนา ขนาด 14
            - ชื่อผู้แต่งใช้แบบอักษร Times New Roman ตัวหนา ขนาด 10 
            - เนื้อความใช้แบบอักษร Garamond ขนาด 13
2. ชื่อ-สกุล ผู้แต่ง ตัวย่อคุณวุฒิสูงสุด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ของผู้แต่งทุกคน เช่น  พิมพิมล วงศ์ไชยา, ปร.ด.  Pimpimon Wongchaiya, Ph.D. ระบุเครื่องหมาย (*) สำหรับผู้ติดต่อหลัก (corresponding author)
3. ในหน้าบทคัดย่อ ให้ระบุ ตำแหน่งทางวิชาการ และ/หรือ ตำแหน่งงาน หน่วยงานที่สังกัด ของผู้แต่งทุกคน พร้อมทั้ง อีเมล์ของผู้ติดต่อหลัก        
        

        บทความวิจัย  
เป็นบทความที่เป็นการรายงานผลการวิจัยทางการพยาบาล การศึกษาพยาบาล นวัตกรรมทางการพยาบาล และสาขาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย           
1. ชื่อเรื่องชัดเจน กระชับ ไม่ระบุสถานที่           
2. บทคัดย่อ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 250 คำ ให้ครอบคลุม บทนำ ระเบียบวิธีการ วิจัย ผลวิจัย และข้อเสนอแนะ           
3. คำสำคัญ (Keywords) ให้ผู้เขียนพิจารณา คำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3-5 คำ           
4. บทนำ เป็นการเขียนความเป็นมาและความสำคัญ ควรมีสาระสำคัญที่เป็นประเด็นหลักของการวิจัยให้ตรงประเด็น แสดงถึงสถานะความรู้ในปัจจุบัน  โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างย่อ ประกอบทั้งแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรและวิจัยที่เกี่ยวข้อง และระบุช่องว่างของความรู้ที่แสดงถึงความสำคัญหรือปัญหาที่ต้องทำการศึกษา           
5. วัตถุประสงค์การวิจัย กระชับและชัดเจน ควรเขียนแยกเป็นข้อๆ           
6. ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการเขียนอธิบายกระบวนการทำวิจัยตามหลักระเบียบวิธีวิจัยที่มีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดพอสังเขปที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของกระบวนการ  ประกอบด้วย               
  6.1 รูปแบบการวิจัย (research design)                 
  6.2 สถานที่และเวลาที่ดำเนินการวิจัย               
  6.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ระบุประชากร การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์การเลือกตัวอย่าง                
  6.4 เครื่องมือวิจัย ให้อธิบายลักษณะของเครื่องมือ และการแปลผลเครื่องมือโดยสังเขปรวมถึงการการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พร้อมทั้งค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น               
  6.5 การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ระบุหน่วยงานที่พิจารณาจริยธรรมการวิจัย และหมายเลขเอกสารอนุมัติจริยธรรมการวิจัย รวมทั้งอธิบายการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างโดยสังเขป               
  6.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล               
  6.7 การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุสถิติที่ใช้ การวิจัยเชิงคุณภาพระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์         
7. ผลการวิจัย  เป็นการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อค้นพบจากการวิจัย หากจะมีการนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง  ให้ใช้ตารางที่ไม่มีเส้นแนวตั้ง มีจำนวนตารางไม่เกิน 4 ตาราง และให้นำเสนอข้อมูลใต้ตารางตามที่จำเป็น การอธิบายข้อมูลควรหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำกับสิ่งที่แสดงในตาราง 
8. อภิปรายผล เป็นการแปลความหมายของผลการวิจัย และอธิบายเหตุผลว่าข้อค้นพบหรือสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายด้วยหลักการ แนวคิดหรือทฤษฎี และเปรียบเทียบ ผลการวิจัยกับdารศึกษาอื่น โดยเน้นอภิปรายผลวิจัยตาม วัตถุประสงค์ รวมทั้งระบุจุดแข็งและข้อจำกัดของวิจัย ถ้ามี         
9. ข้อเสนอแนะ ในการเขียนข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรเขียนข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลวิจัยไปใช้  หรือสำหรับการทำวิจัยต่อยอดในอนาคต ทั้งนี้ข้อเสนอแนะควรสืบเนื่องจากข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้  ไม่ใช่ข้อเสนอแนะตามหลักการโดยทั่วไป
10. กิตติกรรมประกาศ (หากมี) 
11. เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA 6th edition

บทความวิชาการ ได้แก่ บทความปริทรรศน์ (review article) ที่เกิดจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์และสังเคราะห์ วิชาการที่เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และด้านสุขภาพสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 
เป็นบทความที่ต้องการนำเสนอความรู้ใหม่ หรือความรู้เดิมที่กำลังเป็นประเด็นที่สนใจ รวมถึง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) กรณีศึกษา (case study) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล (CPG development)  นวัตกรรมทางการพยาบาลและสุขภาพ (innovation)        

มีแนวปฏิบัติตามลำดับการเขียน  ดังนี้
1.ชื่อเรื่องชัดเจน กระชับ
2.บทคัดย่อ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 250 คำ เป็นความเรียงย่อหน้าเดียว ประกอบด้วยสาระสังเขปที่สำคัญและครบถ้วน
3.คำสำคัญ (Keywords) ให้ผู้เขียนพิจารณา คำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน3-5 คำ
4.บทนำ เป็นการเขียนความสำคัญ  ควรเขียนสาระหรือข้อมูลสำคัญที่เป็นประเด็นหลักของเรื่องที่นำเสนอ  เขียนให้กระชับ ตรงประเด็นและแสดงถึงความสำคัญของบทความนี้
สาระต่างๆ  เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์ของบทความ  โดยประเด็นที่นำเสนอแสดงถึงการค้นคว้า การวิเคราะห์และสังเคราะห์ กระชับ ตรงประเด็น และไม่ซ้ำซ้อน
มีสรุป และข้อเสนอแนะ
5.กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
6.เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA 6th edition

        เอกสารอ้างอิง
        รายการการอ้างอิงที่นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ต้องไม่เก่าเกินกว่า 10 ปี ยกเว้นในกรณีที่เป็นทฤษฎีในระดับมหภาพหรือทฤษฎีขนาดใหญ่ (grand theory) เช่น ทฤษฎีทางสังคม ทฤษฎีทางจิตวิทยา หรือเป็นทฤษฎีที่รู้จักในศาสตร์นั้น ๆ ก็สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ตามความเหมาะสม เช่น Orem’s Nursing Theory เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) ไม่ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (secondary source) หรือ แหล่งข้อมูลตติยภูมิ (tertiary source) เพราะอาจมีการอ้างอิงผิดหรือไม่สอดคล้องหรือไม่ถูกต้องตามที่มีปรากฎจริงในเนื้อหาของแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

           การอ้างอิงในเนื้อหา
           ใช้ระบบนามปี กรณีผู้แต่งเป็นชาวไทย ให้ลงทั้งชื่อและนามสกุล กรณีผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศและผู้แต่งชาวไทยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ให้ลงนามสกุลตามด้วยเครื่องจุลภาค (,) และต่อด้วย อักษรย่อของชื่อต้นและชื่อรอง ดังตัวอย่าง 

หลังข้อความ    (ชลลดา มงคลวนิช และ รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์, 2557) 
หน้าข้อความ    ชลลดา มงคลวนิช และ รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ (2557) 

       ผู้แต่ง 3-6 คน
      ใส่ชื่อและนามสกุลให้ครบทุกครั้งที่อ้างอิง เอกสารภาษาอังกฤษให้ใส่เฉพาะนามสกุล ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองครั้ง ให้ลดรูปการอ้างอิงครั้งที่ 2 โดยใช้คำว่า “และคณะ”หรือ et al. สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ


         ผู้แต่งมากว่า 6 คน 
        ใส่ชื่อและนามสกุลผู้แต่งคนแรก และตามด้วย “และคณะ”หรือ et al. สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ

 

        การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (Reference) 
        ใช้รูปแบบการเขียนแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (The Publication Manual of the American Psychological Association, 6th edition, published by the American Psychological Association, 2011)

        ผู้แต่ง 3-6 คน
รูปแบบ       ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง1 และ ผู้แต่ง3. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์ ใส่พิมพ์ครั้งที่2 เป็นต้นไป). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง     
Smith, T., Williams, B. M., & LaBrode, M. (2019). The citation manual for students: A quick guide (2nd ed.). Hoboken, NJ: Wiley.

        ผู้แต่งมากกว่า 6 คน              
รูปแบบ       ผู้แต่ง1, ผู้แต่ง2, ผู้แต่ง3, ผู้แต่ง4, ผู้แต่ง5, ผู้แต่ง6, ..., และ ผู้แต่งคนสุดท้าย. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง . สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง   
Smith, T., Williams, B. M., LaBrode, M., Brown, C., Taylor, J. M., Davies, S. P., & Miller, H. (2019). The citation manual for students: A quick guide (3rd ed.). Hoboken, NJ: Wiley.

         หนังสือ (Book)   
รูปแบบ    ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์ ใส่พิมพ์ครั้งที่2 เป็นต้นไป). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง   บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
                 Kosslyn, S. M., & Rosenberg, R. S. (2004). Psychology: The brain, the person, the world. (2nd ed.). Essex, England: Pearson Education Limited.       

        หนังสือรวมเรื่อง (Book Review)  
รูปแบบ    ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบท. ใน ชื่อบรรณาธิการ. (บก.). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง  จันทร์เอื้อ เชาวน์ฤทธิ์. (2557). องค์ประกอบการสื่อสารการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค. ใน วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ (บ.ก.), รายงานการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษา
ระดับชาติ ครั้งที่ 5 (หน้า 3-16 – 3-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.   
                 Coopper, J., Mirabile, R., & Scher, S. J. (2005). Actions and attitudes: The theory of cognitive dissonance. In T. C. Brock & M. C. Green (Eds.), Persuasion: Psychological insights and perspectives (2nd ed). (pp. 63-79).CA: Sage Publications.       

        วารสาร/วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Journal) 
รูปแบบ    ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่). เลขหน้า-เลขหน้า.
ตัวอย่าง   เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 30-36.         
                 Klimoski, R., & Palmer, S. (1993). The ADA and the hiring process in organization. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 45(2), 10-36.
หมายเหตุ   1.ชื่อบทความภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพใหญ่ตามด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะ
                   2.ชื่อวารสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อเต็มของวารสาร ไม่ใช้ตัวย่อ และขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ

        สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Website)  
รูปแบบ     
ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน พ.ศ., จาก http://www.xxxxxxxxxx
                  Author. (Year). Tittle. Retrieved  month day, yaer, from http://www.xxxxxxxxxx
ตัวอย่าง    ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). แรงงานอิสระจุดเปราะบางตลาดแรงงานไทยในยุคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_17May2021.aspx     
                  Wollman, N. (1999). Influencing attitudes and behaviors for social change. Retrieved July 6, 2005, from http://www.radpsynet.org/docs/wollmanattitude.html        

        วิทยานิพนธ์ (Thesis)  
รูปแบบ    ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง   วริยา วิชราวัฒน์. (2543). อิทธิพลของวิถีชีวิต บุคลิกภาพก้าวร้าว ความเครียดเรื้อรัง และภาวะติดเชื้อเฮลิโคแบค เตอร์ไพลอไรต่อการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต).   กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

 

การส่งต้นฉบับ
        ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้   ส่งต้นฉบับบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเป็นอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ (.docx) ไปที่ เวบไซต์ของวารสารที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy เพื่อทำการลงทะเบียนสมาชิกวารสาร

        และดำเนินการส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ของ Thaijo  ทั้งนี้ผู้เขียนสามารถศึกษาข้อมูลคำแนะนำ เบื้องต้นสำหรับผู้นิพนธ์ที่เมนูด้านขวามือของหน้าเว็บไซต์  หรือตามคู่มือแนบท้าย  เมื่อบทความผ่านประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว กองบรรณาธิการวารสารจะส่งผลการพิจารณาในระบบออนไลน์ เพื่อ ให้ผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ชำระเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในวารสารเมื่อได้รับการแจ้งจากกองบรรณาธิการ 

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.