ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19

ผู้แต่ง

  • สมศรี สัจจะสกุลรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ธานี กล่อมใจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • พระครูพิศาลสรกิจ พิศาลสรกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส, ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19, การระบาดของโรคโควิด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าอาวาส ประจำวัดในพื้นที่เขตปกครองสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 103 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาเอง เก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้สึกต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 งบประมาณช่วยเหลือ ความรู้เบื้องต้นในการป้องกันตนเองจากโควิด 19 ระดับการเข้าถึงข้อมูลเรื่องโควิด 19 และการปฏิบัติกิจการสงฆ์ 6 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ด้านความรู้สึกต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 เจ้าอาวาสร้อยละ 64.08 มีความรู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว ด้านงบประมาณช่วยเหลือ ร้อยละ 59.22 ทางวัดไม่ได้รับงบประมาณ ด้านความรู้เบื้องต้นในการป้องกันตนเองจาก โควิด 19 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.73 มีความรู้อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}=8.37, SD.=1.24) ด้านระดับการเข้าถึงข้อมูลเรื่องโควิด 19 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.02 มีระดับการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง และการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.06, SD.=0.69) และทุกรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการปกครอง (gif.latex?\bar{x}=3.27 SD.=0.69) และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ด้านศึกษาสงเคราะห์ (gif.latex?\bar{x}=2.72, SD.=0.99) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นในการป้องกันตนเองจากโควิด 19 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับต่ำ (r =.21, p<.05) ระดับการเข้าถึงข้อมูลเรื่องโควิด 19 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง (r=.56, p<.01) และงบประมาณช่วยเหลือมีความสัมพันธ์ กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2 =11.454, p<.01) ข้อเสนอแนะคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรกำหนดนโยบายด้านงบประมาณช่วยเหลือ มีการส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโควิด 19 และเพิ่มระดับการเข้าถึงข้อมูลเรื่องโควิด 19 แก่เจ้าอาวาสให้มากขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สมุทรปราการ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือการปฏิบัติงานโรคไข้หวัดนกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ประสิทธิ์ วัฒนาภา, และสมศักดิ์ อรรฆศิลป์ (2563). แนวโน้ม ผลกระทบ และการเตรียมรับมือ การระบาดรอบที่สองของ COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4), 765-768.

ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1),33-48.

ธวัชชัย ยืนยาวและเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิง ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 555 - 564.

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, นงค์คราญ วิเศษกุล, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, คำพอง คำนนท์, ศรีสกุล สังกำปัง, และรูซีลา โตะกีเล. (2563). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติของประชาชนไทยต่อผู้ที่เคยติดเชื้อหรือผู้ถูกกักกันและผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 (ระยะที่ 1). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF

พระราชปริยัติ (สายัน อรินฺทโม). (26 มีนาคม, 2563). คณะสงฆ์พะเยา ประกาศ ฉ 2 สกัดโควิด งดสงกรานต์รดน้ำดำหัวพระผู้ใหญ่ งานวัดรวมพระและฆราวาส. มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/region/news_2091947

พักต์เพ็ญ สิริคุตต์. (2563). สถานการณ์ของโรคและแนวทางปฏิบัติของโรค 2019. PIDST Gazette, 26(2): 12-18.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564) สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2564, 10 สิงหาคม). สายพันธุ์เดลต้า กระจายทุกพื้นที่ เหลือจังหวัดเดียว ยังตรวจไม่เจอ. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.prachachat.net/general/news-735544

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา (ศบค.พย.). (2564). สถานการณ์ COVID-19 ของจังหวัดพะเยา. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จากhttp://www.phayao.go.th/covid/

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 587 วันที่ 12 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no587-120864.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 69 วันที่ 12 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no69-120363n.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 363 วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no363-311263.pdf

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2663). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ฉบับทบทวน).สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2564, จากhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER001/GENERAL/DATA0000/00000015.PDF

สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (18 พฤษภาคม, 2563). รายงานการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช. มติมหาเถรสมาคม. ครั้งที่ 9/2563 มติที่ 221/2563. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก http://report.dopa.go.th/covid19/ita_files/document/MahatheraDoc9.pdf

Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, X. G., Li, W. T., … Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745–1752. doi: 10.7150/ijbs.45221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27

How to Cite

สัจจะสกุลรัตน์ ส., กล่อมใจ ธ., & พิศาลสรกิจ พ. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 22(2), 125–137. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/250618

ฉบับ

บท

บทความวิจัย(Research Articles)