การประเมินระดับความดังเสียงและผลกระทบจากการสัมผัสเสียงดังของ ผู้ประกอบอาชีพบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ระดับเสียงดัง, สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ, ผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับเสียงในพื้นที่ และผลกระทบจากการสัมผัสเสียงดังของประชาชนที่ประกอบอาชีพในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ โดยดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงใน 5 พื้นที่ในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร และใช้แบบสอบถามผลกระทบจากการสัมผัสเสียงดังในกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานภายในพื้นที่ 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้ one-way ANOVA, chi-square test และ odds ratio (95% CI) เพื่อหาความแตกต่างระดับเสียงดังและความสัมพันธ์ระหว่างเสียงดังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความดังเสียงเฉลี่ยภายในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ระยะเวลา 8 ชั่วโมง พบว่า อยู่ในระดับเสียงช่วง 66.2-82.0 dBA ซึ่งระดับเสียงตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงไม่เกินเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด โดยบริเวณพื้นที่มีระดับเสียงเฉลี่ยเรียงตามลำดับจากสูงสุดไปยังต่ำสุดดังนี้ คือ บริเวณขนส่งรถบัส (80.2 dBA) บริเวณขนส่งรถเมล์ (79.2 dBA) บริเวณขนส่งรถตู้ (76.6 dBA) และบริเวณอาคารพักผู้โดยสาร (67.8 dBA) ตามลำดับ ระดับเสียงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) ผลกระทบต่อการสื่อสารและการทำงานพบว่า ระดับเสียงดังในการทำงานทำให้มีสมาธิน้อยลงมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับเสียงดังในการทำงานส่งผลกระทบต่อการฟังกับคู่สนทนา และระดับเสียงดังในการทำงานส่งผลกระทบต่อการพูดกับคู่สนทนา ในขณะที่ระดับเสียงดังในการทำงานส่งผลกระทบต่อการอ่านเอกสาร น้อยที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในพื้นที่มีเสียงดังเกิน 70 dBA มีโอกาสได้รับผลกระทบต่อการฟังกับคู่สนทนา รบกวนการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ ทำให้มีสมาธิน้อยลง และผลกระทบต่อการพูดกับคู่สนทนา เป็น 2.48, 2.38, 2.49 และ 2.21 เท่า ของกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในพื้นที่มีเสียงดังไม่เกิน 70 dBA ตามลำดับ 3) ผลกระทบจากการสัมผัสเสียงดังต่อสุขภาพพบว่า มีอาการเครียดจากการสัมผัสเสียงดังมากที่สุด รองลงมาคือ มีอาการปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะจากการสัมผัสเสียงดัง และมักมีอาการนอนไม่หลับ ในขณะที่มีอาการหูอื้อจากการสัมผัสเสียงดัง น้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเสียงในพื้นที่ตรวจวัด ข้อเสนอแนะจากผลวิจัยคือ ควรมีการติดแผนที่เสียงในชานชาลาสถานีขนส่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ตระหนักถึงระดับความดังของเสียง
References
กนกพร จำนงจิตรและธันวดี ศรีธาวิรัตน์. (2561). ระดับเสียงในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 1. PSRU Journal of Science and Technology, 1(2), 13-22.
ไชยพร โอภาสวัฒนาและนัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร. (2561). ประสาทหูเสื่อมตามอายุ. Chulalongkorn Medical Journal, 62(2), 175 – 85.
น้ำฝน ยอดดี, เกียรติไกร อายุวัฒน์, และธงไชย โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ. (2558). การจำลองรูปแบบการกระจายมลพิษทางเสียงจากการจราจรบริเวณรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บางเขนวิศวกรรมสาร มก., 28(93), 53-60.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. (2561, 26 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง, หน้า 15.
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ฉบับที่ 15 เรื่อง กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป. (2540, 3 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา เลม 114 ตอนที่ 27ง, หน้า 46-47.
ปัทมาพร กิตติกอง, พรพรรณ สกุลคู, และกาญจนา นาถะพินธุ (2561). การศึกษาระดับเสียงและอาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียงของพนักงานโรงงานผลิตกระดาษ.วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 1-6.
ลักษณีย์ บุญขาวและ ดุษฎี ถาวรพงษ์. (2562). การศึกษาระดับเสียงและแผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่าบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 60-67.
Borén, S. (2020). Electric buses’ sustainability effects, noise, energy use, and costs. International Journal of Sustainable Transportation, 14(12), 956-971.
Caleb, N. K. (2018). Levels of environment noise and perceived health implications in bus termini in Narobi central business district, Nairobi city country, Kenya. (Thesis for the master degree of science, Public Health). Nairobe. Kenyatta University. Retrieved October 9, 2020 from https://ir-library.ku.ac.ke/handle/ 123456789/18616
Cochran, W.G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc. DOI: 10.1080/15568318.2019.1666324.
Keerthana, Gobinath, R., Neelima, S., Chitravel, V., Saranya, S., & Kannan, T. (2013). An analysis of noise pollution in Tirupur city. Engineering and Technology, 1(3), 154-168.
Michta, A., & Haniszewski, T. (2018). Traffic noise experienced on buses, trams and cars in the urban agglomeration of the city of Katowice. Scientific Journal of Silesian University of Technology, 98, 101-109.
Mondal, N. K., Dey, M., & Datta, J. K. (2014). Vulnerability of bus and truck drivers affected from vehicle engine noise. International Journal of Sustainable Built Environment, 3(2), 199-206.
Pierson, A. I. (2018). Noise exposure for bus drivers in an Iowa City transit system. (Thesis for the Master of Science degree in Occupational and Environmental Health). Graduate College of the University of Iowa. Retrieved September 1, 2020, from https://ir.uiowa.edu/etd/6485
Swain, B.K., & Goswami, S. (2018). Acoustic environment in the bus: an empirical study. Pollution, 4(2), 327-333. DOI: 10.22059/poll.2017.243519.329.
National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH), U.S. Department of Health and Human Services. (1998). Occupational noise exposure: Revised Criteria 1998, Cincinnati Ohio: NIOSH Publication
Venkatappa, K. G., Shankar, V., & Annamalai, N. (2012). Assessment of knowledge, attitude and practices of traffic policemen regarding the auditory effects of noise. Indian journal of physiology and pharmacology, 56(1), 69–73.
World Health Organization. (1995). Consultation on evaluation and control of noise exposure in the work environment, Geneva: WHO.
World Health Organization. (1999). Guidelines for community noise. WHO document from meeting held in London, London: WHO.
Yao, C. M., Andrew K. M., Cushing, S. L., & Lin, V. Y. (2017). Noise exposure while commuting in Toronto - a study of personal and public transportation in Toronto. Journal of Otolaryngology-Head and Neck Surgery, 46(62), 1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.