ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ปัจจัย, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.91, 0.89, 0.92 และ 0.90 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.45คะแนน) มีระดับความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ (ร้อยละ 79.37) และการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ2.34ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.62) ระดับปานกลาง สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ2.12ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68) ในระดับต่ำ  ปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ปัจจัยนำ (ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ) และปัจจัยเสริม (เครือข่ายสังคม) เป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.81 (R2=0.238)ส่วนปัจจัยเอื้อ (สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนเครือข่ายทางสังคม และการส่งเสริมความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ นำมาสู่การมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลาง ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 68-83.

ขวัญดาว กล่ำรัตน์, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, ภัทรพล มหาขันธ์, และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 93 – 104.

ธานี กล่อมใจ, ทักษิกา ชัชวรัตน์ และ สิริสุดา เตชะวิเศษ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด University-Community Engagement. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(2), 31-47.

ธีรพงษ์ ธงหิมะสุทธีพร มูลศาสตร์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 20(2), 105-118.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สงอายุที่อาศัยในชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 63-74.

ยุภา โพผา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยง หมู่ที่ 1. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(Supplement), 266-275.

วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

เสรี ลาชโรจน์. (2537). การสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการ การวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Green, L.W., & Kreuter, M.W. (1991). Health Promotion Planning: An Education and Environment Approach . (2nded). Toronto: May Field Publishing Comp.

Pender, N. (1996). Health promotion in nursingpractice. (3rd ed.). CT: Appletonand Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

แต้เจริญวิริยะกุล อ. (2020). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 21(1), 80–90. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/194155

ฉบับ

บท

บทความวิจัย(Research Articles)