การรักษามะเร็งทางนรีเวชด้วยการผ่าตัดกับผลกระทบด้านความบกพร่องทางเพศ

ผู้แต่ง

  • ประวีดา คำแดง คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

คำสำคัญ:

มะเร็งทางนรีเวช/การผ่าตัด/ ความบกพร่องทางเพศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                ในประเทศไทยมะเร็งทางนรีเวชเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรี และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง การรักษาโรคมะเร็งทางนรีเวชมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา การใช้ยาเคมีบำบัด และการรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกัน การเลือกวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับอายุ ภาวะสุขภาพ ระยะของโรค และภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมด้วย การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่ใช้มากที่สุด เพราะเป็นวิธีการที่สามารถนำเอาก้อนมะเร็งและตำแหน่งที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปถึงออก การผ่าตัดในสตรีที่เป็นมะเร็งทางนรีเวชส่วนใหญ่ ได้แก่ การผ่าตัดมดลูกออกบางส่วนโดยยังคงปากมดลูกและช่องคลอดเอาไว้ การผ่าตัดมดลูกรวมไปถึงปากมดลูกและช่องคลอดบางส่วน การผ่าตัดมดลูกร่วมกับการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกหนึ่งหรือสองข้าง และการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อพังพืดที่ยึดมดลูกออก การรักษาด้วยการผ่าตัดแม้จะเป็นการทำให้ต้นตอของการเกิดรอยโรคถูกกำจัดออกไป แต่อาจมีผลกระทบต่อสตรีทั้งด้านร่างกายและจิตใจภายหลังได้รับการรักษา ผลกระทบที่พบได้มากคือปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ และการสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์ เนื่องจากการรักษามะเร็งทางนรีเวชส่งผลกระทบต่อสรีรวิทยาของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย และผลกระทบต่อจิตใจของสตรีเป็นอย่างมาก อันนำมาสู่ผลกระทบด้านความบกพร่องทางเพศในสตรีตามมาได้

 

Author Biography

ประวีดา คำแดง, คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค

อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ

References

จตุพล ศรีสมบูรณ์ และชำนาญ เกียรติพีรกุล. (2554). มะเร็งนรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.
ชัยเลิศ พงษ์นริศร. (2559). ผ่าตัดมดลูก ใครว่าไม่ต้องคิดมาก?. [เอกสารออนไลน์]. ค้นพบเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 แหล่งที่มา https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-22
ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์. (2541). การพยาบาลมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี. สงขลา: ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, และสิวลี ศิริไล. (2542). ปัญหาด้านจิต-สังคมในผู้ป่วยโรคมะเร็งนรีเวช. ใน วสันต์ ลีนะสมิต และสมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ (บรรณาธิการ), ตำรามะเร็งนรีเวชวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน้า 643-676). กรุงเทพฯ: โฮลิสติก.
นิตยา ระวังพาล. (2541). มิติทางสังคมวัฒนธรรมในการเผชิญกับปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของหญิง: การเลือกใช้ระบบบริการสุขภาพ. เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มาลี เผือกหอม. (2551). ฉันยังเป็นผู้หญิงอยู่หรือ? : อัตตลักษณ์ทางเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาวะทางเพศของผู้หญิงไม่มีมดลูก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชาญ หล่อวิทยา. (2544). Principle of radiation oncology. ใน วิชาญ หล่อวิทยา, ไพรัช เทพมงคล, ประมุข พรหมรัตนพงศ์, และชนวัธน์ เทศวิบุล (บรรณาธิการ), Manual of radiation oncology (หน้า 1-26). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร ไชยประสิทธิ์, อรนัย วรรณสุคำ, จิราวรรณ วรรณเวก, กฤตยา อาชวนิจกุล, รัชนี สุนทรปกรณ์กิจ, บังอร ศิริโรจน์, และคณะ. (2539). ปัญหาสุขภาพและนรีเวชของผู้หญิงที่พบบ่อยและไม่บ่อย. ใน ศศิธร ไชยประสิทธิ์, อรนัย วรรณสุคำ, จิราวรรณ วรรณเวก, กฤตยา อาชวนิจกุล, รัชนี สุนทรปกรณ์กิจ, บังอร ศิริโรจน์, และคณะ (บรรณาธิการ), ร่างกายของเรา ตัวตนของเรา (พิมพ์ครั้งที่ 1) (หน้า 566-567). เชียงใหม่: โครงการเครือข่ายเพื่อสุขภาพผู้หญิง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมรรัตน์ อำไพจิตร, มณี อาภานันทิกุล, และทัดทรวง ปุญญทลังค์. (2555). ปัญหาสุขภาพทางเพศ การจัดการปัญหา และความต้องการความช่วยเหลือของสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกหลังได้รับการรักษาและคู่สมรส. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18 (1), 43-57.
อัญชลี ตาบุรี, ฉวี เบาทรวง, และสุพิศ รุ่งเรืองศรี. (2543). คุณภาพชีวิตของสตรีภายหลังการตัดมดลูกและรังไข่. พยาบาลสาร, 27 (4), 19-32.
Alexander, L. L., La Rosa, J. H., & Bader, H. (2001). New dimensions in women’s health (2nded.). Boston: Jones and Bartlett.
American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorder. (5th ed.). Washington, DC: American Psychological Association.
Baram, D. A. (1996). Sexuality and sexual function. In J. S. Berek, E. Y. Adashi, & P. A. Hillard (Eds.), Novak’s gynecology (12th ed.). Baltimore: Williams & Wilkins.
Basson, R., Brotto, L. A., Laan, E., Redmond, G., & Utian, W. H. (2005). Assessment and management of Women’s sexual dysfunctions: Problematic desire and arousal [Electronic version]. Journal of Sexual Medicine, 2, 291-300.
Bruner, D. W., & Iwamoto, R. R. (1996). Altered sexual health. In S. L. Groenwald, F. M. Hansen, & M. Goodman (Eds.), Cancer symptom management (pp.523-551). Boston: Jones & Bartlett.
Butler-Manuel, S. A., Summerville, K., Ford, A., Blake, P., Riley, A. J., Sultan, A. H., et al. (1998). Self-assessment of morbidity following radical hysterectomy for cervical cancer. Journal of Obstetrics and Gynaecology, 19, 180-183.
Duid, N., & Savage, W. (1999). Hysterectomy [online]. Retrieve February 10, 2005, from http: // www.womenshealthlondon.org.uk/leaflets/hysterectomy/hystprint.html.
Gamel, C., Hengeveld, M., & David, B. (2000). Informational needs about the effects of gynaecological cancer on sexuality: A review of the literature [Electronic version]. Journal of Clinical Nursing, 9, 678-688.
Hawighorst-Knapstein, S., Fusshoeller, C., Franz, C., Trautmann, K., Schmidt, M., Pilch, H., et al. (2004). The impact of treatment for genital cancer on quality of life and body image-results of a prospective longitudinal 10-year study [Electronic version]. Gynecologic Oncology, 94, 398-403.
National Cancer Institute. (2017). Hospital-based cancer registry 2015. Bangkok: National Cancer Institute.
Nusbaum, M., Hamilton, C., & Lenahan, P. (2003). Chronic illness and sexual functioning. Amirican Family Physician, 67, 347-354.
Phillips, N. A. (2000). Female sexual dysfunction: Evalution and treatment. American Family Physician, 26, , 127-135.
Shafer, L. (2002). Sexual dysfunction. In K. J. Carlson, & S. A. Eisenstat (Eds.), Primary care of Women (2nd ed., pp. 415-420). Philadelphia: Mosby.
Williamson, M. L. (1992). Sexual adjustment after hysterectomy. Journal of Obstetric Gynecology & Neonatal Nursing, 21, 42-47.
Zobbe, V., Gimbel, H., Andersen, B. M., Filtenborg, T., Jakobsen, K., Soresen, H. C., et al. (2004). Sexuality after total vs. subtotal hysterectomy [Electronic version]. Acta Obstetricia et Gynecological Scandinavia, 83, 191-196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-04

How to Cite