ผลของโปรแกรมการสอนตามแนวคิด การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ต่อสมรรถนะการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • นุสรา ประเสริฐศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • มณีรัตน์ จิรัปปภา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อภิรดี เจริญนุกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Keywords:

โปรแกรมการสอน, นักศึกษาพยาบาล, สมรรถนะ, การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์, Program teaching, Nursing Student, Competence, Evidence-based practice

Abstract

สมรรถนะการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Practice ; EBP) ถูกบรรจุให้เป็นสมรรถนะที่สำคัญของวิชาชีพพยาบาล ยังมีข้อมูลจำกัดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ EBP ในระดับปริญญาตรี วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอน การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์  ต่อการพัฒนาสมรรถนะ EBP ซึ่งประกอบด้วย ความรู้  ทัศนคติ และ ทักษะ EBP  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลัง  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ปี จำนวน 146 คน โปรแกรมการสอน EBP ประกอบด้วย ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ รวมเวลา 8  สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินสมรรถนะ EBP และ แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  วิเคราะห์ ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังโปรแกรมการศึกษาด้วย สถิติค่าที   ผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ย ความรู้  ทัศนคติ และ ทักษะ EBP  ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมการสอนการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์

The Effect of Evidence-based Practice (EBP) Teaching Program on the EBP Competence of Nursing Students

Evidence Based Practice (EBP) competence is identify as an essential competence in nursing profession. There has been limited of teaching to enhancing EBP competence in undergraduate nursing students.  The aim of this study was to examine the effect of EBP teaching program on the EBP competence that including knowledge, attitude and skills EBP. A quasi-experimental one group pretest–posttest design was used. There were 146 of the third year nursing students in the study. Evidence-based Practice teaching program that integrated both theory classroom teaching method and clinical teaching were implemented in 8 weeks. Self-administered questionnaires of EBP competence and EBP practice evolution were administered before and after EBP teaching program intervention. Descriptive statistics were used and Pair t-test analysis was implemented to assess differences before and after EBP teaching program. Significant improvement in EBP competence and EBP practice can be achieved for nursing students by EBP teaching program. 


Downloads

How to Cite

ประเสริฐศรี น., จิรัปปภา ม., & เจริญนุกูล อ. (2016). ผลของโปรแกรมการสอนตามแนวคิด การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ต่อสมรรถนะการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในนักศึกษาพยาบาล. Journal of Nursing and Health Research, 17(3), 145–155. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/72601