อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมาเด็ก ก่อนและหลังการเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Authors

  • มณีวรรณ อุบลชัย นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรพล เวียงนนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพรรณี พรหมเทศ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

อัตราการรอดชีพ, มะเร็งเฮปาโตบลาสโตมาในเด็ก, ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทย, survival rate, hepatoblastoma, universal coverage Thailand

Abstract

มะเร็งเฮปาโตบลาสโตมา (hepatoblastoma) เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก มีพยากรณ์โรคดีโดยเฉพาะมะเร็งในระยะต้น สามารถรักษาให้หายขาดจากการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดและการเข้าถึงการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมา     ก่อนและหลังการเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมา ที่ได้รับการรักษา   ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่าง พ.ศ.2528- 2556 โดยใช้ฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาล ผลการ ศึกษา มีผู้ป่วยเด็กที่เป็น มะเร็งเฮปาโตบลาสโตมาทั้งหมด 74 ราย พบในเด็กชายและหญิงเท่าๆ กัน มีผลพยาธิวิทยายืนยันร้อยละ 83.8 ติดตามผลการรักษา 6,228 คน-เดือน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 31 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.5 ต่อ 100 คน-เดือน (95%CI, 0.3-0.7) อัตราการรอดชีพที่ 6, 12, 18 และ 24 เดือน เท่ากับร้อยละ 80.6, 76.2, 62.8 และ 58.2 ตามลำดับและค่า 75% survival time เท่ากับ 12 เดือน (95% CI, 6.7-17.9) อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมา ก่อนเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (1 มกราคม 2528 - 31 ธันวาคม 2544 ) จำนวน 36 ราย ติดตามผลการรักษา 4,486  คน-เดือน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 19 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.4 ต่อ 100 คน-เดือน (95%CI, 0.2-0.6) อัตราการรอดชีพที่ 6, 12, 18 และ 24 เดือน เป็นร้อยละ 64.7, 61.8, 50.0 และ50.0  ตามลำดับ และค่า 75% survival time เท่ากับ 2 เดือน (95%CI, -1.1-5.2) อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโต บลาสโตมา  หลังเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า  (1 มกราคม 2545 - 31 ธันวาคม 2557 ) จำนวน 38 ราย ติดตามผลการรักษา 1,754  คน-เดือน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นอัตราตาย  0.7 ต่อ 100 คน-เดือน (95%CI, 0.4-1.2) อัตราการรอดชีพที่ 6, 12, 18 และ 24 เดือน เท่ากับร้อยละ 94.7, 89.3, 74.4 และ 65.2  ตามลำดับ และค่า 75% survival time เท่ากับ 14 เดือน  (95%CI, 5.6-22.2) ระยะของโรคเป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็ง เฮปาโตบลาสโตมา โดยผู้ป่วยที่อยู่ระยะที่ 3 มีความเสี่ยงต่อการตายเป็น 5.75 เท่า ของผู้ป่วยในระยะที่ 1 และ 2 (95%CI, 1.33-24.86) โดยสรุป อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมาหลังการเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า สูงกว่าก่อนการเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระยะของโรคเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโต บลาสโตมา ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในระยะแรกของโรคมีพยากรณ์โรคดี 

Survival Of Childhood Hepatoblastoma Cancer Patients Before And After The Universal Coverage Scheme

Background: Hepatoblastoma is the most common primary hepatic tumor in children. Advances in therapeutic strategies resulted in improved survival, especially for early disease and good compliance. In Thailand, universal health coverage has been implemented since 2002 resulting in getting access to health services. This study aimed to study the survival rates in children with hepatoblastoma before and after the universal coverage scheme. Material and methods: We sourced the data from Khon Kaen Cancer Registry on children with hepatoblastoma, diagnosed at treated at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University between 1985-2013. The patient status was followed-up till December 2014. The Kaplan Meier method was applied to calculate cumulative survival and independent prognostic factors were investigated using Cox regression. Results: We identified 74 cases of children between 0-15 years of age diagnosed with hepatoblastoma. Males and females are equally affected. Morphological verification was made in83.8%. The total follow up time was 6,628 person-months. Thirty-one patients died, resulting in the mortality rate of 0.5 per 100 person-months (95%CI, 0.4-0.7). The respect cumulative survival rate at 6, 12, 18 and 24 months was 80.6, 76.2, 62.8 and 58.2%. The75% survival time was at 12 months (95%CI, 6.8-17.9). Thirty-six cases received treatment before implementation of the universal coverage scheme (January 1985 -December 2011). The total follow-up times were 4,486 person-months. Nineteen patients died resulting in the mortality rate of 0.4 per 100 person-months (95 % CI, 0.2-0.6). The respect survival rate at 6, 12, 18 and 24 months was 64.7, 61.8, 50 and 50%. The 75% survival time was 2 months (95% CI,-1.1-5.2). Specifically, 38 cases were treated under the universal coverage scheme (January 2012- December 2014). The total follow-up times were 1,754 person-months. Twelve patients died, resulting in the mortality rate of 0.7 deaths per 100 person-months (95% CI, 0.4-1.2). The respect survival rates at 6, 12, 18 and 24 months was 94.7, 89.3, 74.4 and 65.2%. The 75% survival time was 14 months (95%CI, 5.6-22.2). After controlling the effects of gender, age, stage of disease, treatment modality, stage of disease (stage >3) was the only significant prognostic factor with the risk of death 5.75 times greater than of patients with stage1 (95% CI = 1.33-24.86).Conclusion: Overall survival rate of hepatoblastoma patients after the universal coverage scheme was higher than before those of using universal coverage scheme. Stage of the disease was the only factor that affected the survival. Patients treated at the early stages of the disease can minimize the risk of death.

Downloads

How to Cite

อุบลชัย ม., เวียงนนท์ ส., สุวรรณรุ่งเรือง ก., & พรหมเทศ ส. (2016). อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเฮปาโตบลาสโตมาเด็ก ก่อนและหลังการเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. Journal of Nursing and Health Research, 17(3), 42–52. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/72351