การพัฒนาศักยภาพญาติผู้ดูแลสุขภาพคนพิการที่บ้าน ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Keywords:
การพัฒนาศักยภาพ, ผู้ดูแล, การดูแลสุขภาพที่บ้าน, คนพิการ, potential development, family care givers, home care, the disabledAbstract
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลสุขภาพที่บ้านเพื่อพัฒนาศักยภาพญาติผู้ดูแล และเพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจที่มีต่อการได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยญาติผู้ดูแล ก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพญาติผู้ดูแลในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ได้คนพิการ 20 คน และญาติผู้ดูแล 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมที่สร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติเชิงอนุมานใช้wilcoxon signed ranks test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างคนพิการ มีความต้องการการดูแลสุขภาพที่บ้าน ด้านสุขภาพต้องการคนช่วยเหลือในการดำรงชีวิตประจำวัน ร้อยละ 50 ด้านสภาพแวดล้อมต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 35 ด้านสวัสดิการสังคมต้องการเบี้ยยังชีพคนพิการเพิ่ม และการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค ร้อยละ 100 การพัฒนาศักยภาพญาติผู้ดูแลใช้กระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory training) มีองค์ประกอบดังนี้ 1) ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ สถานที่ และกำหนดการ 2) การเปลี่ยนแปลง ด้านความรู้ใช้การบรรยาย เอกสาร สนทนาด้านเจตคติใช้การเสวนา ด้านทักษะใช้การฝึกปฏิบัติ 3) การเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม 4) การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ทำให้เกิดความมั่นใจ กล้าแสดงออก 5) การนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันมีการกำหนดแผนติดตามเยี่ยมคนพิการ 6) การฝึกอบรม โดยใช้วิทยากรที่เชี่ยวชาญในการบรรยายและสาธิต 7) การเรียนรู้เป็นกลุ่ม เน้นการกระจายความรู้และทักษะแก่ทั้งกลุ่มทำให้เกิดทักษะจากผลการจัดกิจกรรมทำให้ความพึงพอใจของคนพิการที่มีต่อการได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยญาติผู้ดูแล มีคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาศักยภาพสูงกว่าก่อนการพัฒนาศักยภาพเมื่อทดสอบทางสถิติพบว่า ก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.01 (P-value = <0.01)
Potential development offamily caregivers to provide home care for the disabled in Maung District, Phayao Province
The purpose of this study was to investigate home care needs, potential development of family care givers and to compare the satisfaction with the home care received for the disabled in Maung district, Phayao province. This research was conducted as action research. The data collection was undertaken questionnaires and participatory observation for mamong representative the disabled and family caregiver were developed by the researcher. Data were analyzed by using descriptive statistics in term of percentage, mean, standard deviation. The inferential statistics were analyzed by wilcoxon signed ranks test. Qualitative data were analyzed by using content analysis. On physical health needs, it was found that 50 per cent needed caregivers to help in daily life. On needs of help in adapting the environment, it was found that 35 per cent needed adjustments or modify housing and environment. On needs of social welfare, it was found that there were 100 per cent needs of increasing the amount of disability living allowance and needs of supporting on consumer goods. The components of the creation of family caregivers for the disabled were using by participatory training methods in order to engage participants in the learning process, i.e.;1) Trainee centre, the participants could involve setting objective, method, place and program. 2) Change for new knowledge used lectures, self-study and communication with a group, change for new attitudes used group discussion and change for new skills used demonstrations. 3) Learning by background or old experience. 4) Learning by simulation which was important for bright up their knowledge, confidence and self-esteems. 5) Using experience for their daily life such as they could set planning to visit people with disabilities. 6) Training by expertise 7) Group learning, scattering the knowledge and skills to all participants, let them had the skills in it. On disabled people’s satisfaction with home care provided by family caregivers, the result showed that the mean score satisfaction with the home care received for the disabled relate to potential development of family caregivers were statistically significant higher than that of the pre-test (P-value = <0.01).