ผลการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ และความสามารถในการทำงานเป็นทีม

Authors

  • thawatchai yeunyow 320 Lukmeung Road.Nai Mueang, Mueang Surin District, Surin 32000

Keywords:

การจัดการศึกษาแบบสหสาชาวิชาชีพ, การรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม, Interprofessional education, Teamwork, Perception on interprofessional roles and responsibility

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพและความสามารถในการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ 3 สถาบันๆ ละ 30 คน เครื่องมือในการศึกษาวิจัยเป็นกรณีศึกษาเรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและแบบสอบถามการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพและความสามารถในการทำงานเป็นทีมซึ่งพัฒนามาจากกรอบแนวคิดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพของประเทศไทย ดำเนินกิจกรรมนอกหลักสูตรการเรียนการสอนโดยกำหนดกิจกรรมในวันหยุดจำนวน 3 ครั้ง แต่ละกิจกรรมใช้เวลา 3 ชั่วโมง ห่างกันทุก  1 สัปดาห์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพและความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วยสถิติแอลฟ่าของครอนบาคได้ค่า .91 และ .92 ตามลำดับ ใช้สถิติ dependent t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการเข้าร่วมกิจกรรม  ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพและคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนเริ่มกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001 ซึ่งพบว่าการจัดการศึกษาแบบสหสาชาวิชาชีพมีประสิทธิผลที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างที่มาจากต่างสถาบันมีการรับรู้และเข้าใจบทบาทของสาขาวิชาชีพอื่นในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนมากขึ้น

Effects of Interprofessional Education on Perception on Interprofessional Roles and Responsibility, and Teamwork

The aims of this quasi-experimental study with one group pretest-posttest design were to determine the effects of interprofessional educations on perception on interprofessional roles and responsibility, and teamwork. Samples were 90 students whom were purposive selected from second years’ students of Boromarajonani College of Nursing, Surin, Rajamangala University of Technology Isan Surin Campus, and Surin Rajabhat University. Research intervention was a case study of fall prevention among elderly. Participants were divided into a group of 15 in which 5 from each institute. Participants have to attend three sessions of program which were held in weekend. Framework for Action on Interprofessional and Collaboration Practice (WHO, 2010) were as a guided for development intervention and questionnaire. Translate and back-translate were conducted and psychoproperties of questionnaire were approved in which cronbach alpha of interprofessional roles and responsibility was .91, and teamwork was .92. Dependent t-test was used to test the difference on means before and after the intervention.  Findings were shown means score of interprofessional roles were statistically significant increased at p<.001. The means score of teamwork were statistically significant increased at p<.001. This intervention was effectiveness in which it allowed students from different institutes to learn and understand other professional roles and responsibility in taking people in the community.

References

เปรมฤดี ศรีวิชัย. (2557). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำการและการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 27(1), 64-77.
ฐิตาพร เขียนวงษ์,มนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2555). ผลของรูปแบบการเรียนแบบคู่คิดคู่ปรึกษาต่อการทำงานเป็นทีม การรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะการตัดสินใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.วารสารวิจัย มสด สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 118-129.
วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2561). คู่มือการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2557). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุณี เศรษฐเสถียร. 2558. รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 25(2):65-70.
อนงค์ ดิษฐสังข์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, พัชระกรพจน์ วัชรประสาร.(2558). อุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดการพลัดตกหกล้มที่บ้านของผู้ป่วยภายหลังออกจากโรงพยาบาล.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 78-89.
Barr H. (2009). An anatomy of continuing interprofessional education. J ContinEduc Health Prof 29:147–150.
World Health Organization. (2010). Health Professions Networks Nursing & Midwifery Human Resources for Health. Framework for Action on Interprofessional Education & Collaborative Practice, Geneva, Switzerland.
World Health Organization. (2016). World Health Statistics 2016: Monitoring health for the SDGs. Age – data should cover the full life course, Villars-sous-Yens, Switzerland.

Downloads

Published

2019-04-17

How to Cite

yeunyow, thawatchai. (2019). ผลการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ และความสามารถในการทำงานเป็นทีม. Journal of Nursing and Health Research, 20(1), 137–147. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/168729