ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาวัยรุ่น ในระยะหลังคลอด Factors Affecting Family Functioning of Teenaged Post-partum Mothers

Authors

  • อัจฉโรบล แสงประเสริฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์
  • พลอยไพลิน มาสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์
  • กำแพง จินดา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์

Keywords:

การทำหน้าที่ครอบครัว, มารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด, family functioning, teenaged post-partum mothers

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอด พาบุตรมารับวัคซีน ณ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์  จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 100  คน เก็บข้อมูล ระหว่างกุมภาพันธ์  ถึง สิงหาคม  2558  การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ  โดยผู้วิจัยเก็บกลุ่มตัวอย่างเดือนละ 10-15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดา และทารก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกขณะอยู่ในโรงพยาบาล  แบบสอบถามการสนับสนุนของสามี แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทารก  แบบสอบถามการทำหน้าที่ครอบครัว  แบบสอบถามความเครียดของการเป็นมารดา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Conbach”s Alpha Coefficent) เท่ากับ  0.82, 0.92, 0.70, 0.95 และ0.89 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และวิเคราะห์การทำนายด้วยสถิติถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัย พบว่าการทำหน้าที่ครอบครัวโดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างดี (  gif.latex?\bar{x}= 3.02 , SD = 0.78) การสนับสนุนของสามี  และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทารก   มีอิทธิพลต่อการทำหน้าที่ครอบครัว (b = 0.31, p = .001 และ gif.latex?\beta =  0.39 , p = .000  ตามลำดับ)    โดยสามารถร่วมทำนาย  การทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 โดยสามารถอธิบายการผันแปรของการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด  ได้ร้อยละ  33.1 (Adjusted R2  = .331)

คำสำคัญ : การทำหน้าที่ครอบครัว  มารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด

 

The objective  of  this  research  is  to  study   factors   affecting   family  functioning  of  teenaged  post-partum  mothers. Factors under study are the family income, participation of mothers in  infant care while in the hospital, spouse support, the knowledge and understanding on infant behaviors and the maternal stress. Systematic sampling consisted   of  100   teenaged   post-partum mothers with infants, at the Well baby clinic , Sawanpracharak Hospital NakhonSawan Province. Data were collected from   February  2015 to August 2015. The researcher collected 10-15 sample per month. The employed research instrument was a questionnaire consisting of   personal data of the mother, Infant,   participation of the mother in infant care in the hospital, spouse support,  knowledge and understanding on infant behaviors,  maternal  stress, and  family functioning.  Statistics  for  data  analysis included the percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation, and  multiple  regression  analysis.

Result   showed   that   Teenaged   post-partum   mothers   with  infants   carried   out  family functioning   (  gif.latex?\bar{x}=3.02, SD = 0.78)   at  the  average  level. Spouse support and knowledge and  understanding  on  infant behaviors   significant   influenced   family  functioning of teenaged post-partum  mothers   with   infants, at the .05 level. (b = 0.31, p = .001 และ gif.latex?\beta=  0.39 , p = .000). The two factors were able to explain the variance of family functioning of teenaged post-partum  mothers  with infants at 33.1 %

Keywords : family functioning, teenaged  post-partum  mothers

References

-

Downloads

Published

2017-12-26

How to Cite

แสงประเสริฐ อ., มาสุข พ., & จินดา ก. (2017). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ครอบครัวของมารดาวัยรุ่น ในระยะหลังคลอด Factors Affecting Family Functioning of Teenaged Post-partum Mothers. Journal of Nursing and Health Research, 18(3), 73–82. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/106842