การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะลองโควิด (Long COVID) ของผู้ป่วย (เจ้าหน้าที่ป่อเต็กตึ๊ง) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ผ่านทางระบบโทรเวชกรรม

Main Article Content

อรกช มหาดิลกรัตน์
ชลิดา สิทธิชัยวิจิตร
เนมิราช พาหะมาก
ธัญวรัตม์ ลิ่วเจริญศักดิ์กูล
นที ตันสถิติกร
พีรนันท์ เกียรติกมลวงศ์

บทคัดย่อ

การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะลองโควิด (Long COVID) ของผู้ป่วย (เจ้าหน้าที่ป่อเต็กตึ๊ง) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนผ่านทางระบบโทรเวชกรรม เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยในช่วง 1 สิงหาคม–31 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 11 ราย เป็นเพศชาย 5 คน เพศหญิง 6 คน อายุเฉลี่ย 42.9±10.26 ปี อาการที่มารักษาส่วนใหญ่คือ อาการเหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 27.27) อาการไอ 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 27.27) และอาการอื่นๆ 5 ราย (ได้แก่ นอนไม่หลับ หายใจไม่สุด หายใจแรงขณะหลับ มีเสมหะในลำคอและการรับกลิ่นไม่ปกติ) ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มอาการชี่ของปอดและม้ามพร่อง 8 ราย (คิดเป็นร้อยละ 72.72) และกลุ่มอาการชี่และอินพร่อง 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 27.27) หลังจากที่ได้รับการรักษาพบว่า ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา (ORR = CR+PR) 11 ราย (คิดเป็นร้อยละ 100) โดยหายขาดทางคลินิก (CR) จำนวน 8 ราย (คิดเป็นร้อยละ 72.72) และ ได้ผลเด่นชัด (PR) จำนวน 3 ราย (คิดเป็นร้อยละ 27.27) ตำรับยาที่ใช้มีความปลอดภัย โดยแบ่งเป็นระดับ I ปลอดภัย จำนวน 10 ราย (คิดเป็นร้อยละ 90.9) และระดับ II ค่อนข้างปลอดภัย จำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 9.09) และมีความพึงพอใจภาพรวมของผู้ที่เข้าร่วมโครงการผ่านทางระบบโทรเวชกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.73±0.45 มีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านการให้บริการของแพทย์และผลการรักษา คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.77±0.40 รองลงมาคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.36±0.64) และน้อยที่สุดด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.34±0.63)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Public Health Emergency Management of Department of Disease Control. Novel coronavirus (2019-nCoV) situation reports in Thailand No.603 [Internet]. 2019 [cited 2021 Dec 15]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viral/pneumonia/file/situation/sitution-no603-280864.pdf

Venkatesan P. NICE guideline on long COVID. Lancet Respir Med [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 15];9(2):129. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/S2213-2600(21)00031-X

Sisó-Almirall A, Brito-Zerón P, Ferrín LC, Kostov B, Moreno AM, Mestres J, et al. Longcovid-19: proposed primary care clinical guidelines for diagnosis and disease management. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(8):1-20.

National Health Commission, National Administration of Traditional Chinese Medicine. Diagnosis and treatment protocol for novel coronavirus pneumonia (trial Version 8). China, Document Number:[2020]No.680. (2020 Aug 18). (in Chinese)

Zheng XY. Guilding Principle of Clinical Research on New Drugs of Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Beijing: Chinese Medical Science and Technology Press; 2002 (in Chinese)

Tian FN, He G, Chen J, Lin HJ, Yang L, Deng M, et al. Investigation and analysis of traditional Chinese medicine symptoms during recovery period in patients with COVID-19. Herald of Medicine. 2020;39(5):637-9. (in Chinese)

Khongmalai O, Jaiwong W. Adoption of telemedicine in public health in rural areas case study: Somdej Phra Yupparat Chiang Khong Hospital. KMUTT R&D Journal. 2017;40:641-50.