เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ผู้นิพนธ์ต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีอิสระทางวิชาการโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย (ตามคู่มือ “จรรยาวิชาชีพ ของนักวิจัย และแนวทางปฏิบัติ” สํานักงานคณะ กรรมการการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2554)
  • ผู้นิพนธ์ต้องรายงานผลงานวิชาการ/งานวิจัย จากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ยึดถือความถูกต้องของข้อมูล ปราศจากข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือนข้อมูลให้คลาดเคลื่อนจากความจริง และจัดทําผลงานตาม “คําแนะนําสําหรับผู้นิพนธ์”
  • ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่ปรากฏอยู่ในผลงานวิชาการ/งานวิจัยของตนเอง ต้องมีความสุจริตทางวิชาการไม่มีการกระทําที่เป็นการลอกเลียน/ แอบอ้างงานเขียน หรืองานสร้างสรรค์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนนํามาใส่ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา (plagiarism)
  • ผู้นิพนธ์ควรพยายามหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) มิให้เกิดขึ้น ทั้งในกระบวนการวิจัย และ/หรือ กระบวนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ความสัมพันธ์นี้อาจเป็นความสัมพันธ์ด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ หรือความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ความสัมพันธ์ทางการเงิน ฯลฯ อันก่อให้เกิดอคติต่องานวิจัยได้ หากผู้นิพนธ์คาดว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนในงานวิจัย ให้เปิดเผยต่อบรรณาธิการวารสารฯ ทราบล่วงหน้า และแหล่งทุนวิจัยจะต้องถูกกล่าวถึงในกิตติกรรมประกาศ
  • ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานตนเองและรับรองว่า ผลงานไม่เคยถูกตีพิมพ์ หรือกําลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด
  • ผู้นิพนธ์ต้องระบุผู้เป็นเจ้าของผลงานวิชาการ/งานวิจัยร่วมทุกคน ระบุบทบาทและสัดส่วนของความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในกรณีที่มิได้มีผู้นิพนธ์คนเดียว
  • ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ทําผิดต่อความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ โดยเฉพาะข้อ 2-5 กองบรรณาธิการจะตัดสิทธิ์ การตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี และกองบรรณาธิการวารสารฯ จะแจ้งหน่วยงานที่ผู้นิพนธ์ สังกัดตามแต่กรณี

ความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์

1 ผู้นิพนธ์ต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีอิสระทางวิชาการโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย (ตามคู่มือ “จรรยาวิชาชีพ ของนักวิจัย และแนวทางปฏิบัติ” สํานักงานคณะ กรรมการการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2554)

2 ผู้นิพนธ์ต้องรายงานผลงานวิชาการ/งานวิจัย จากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ยึดถือความถูกต้องของข้อมูล ปราศจากข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือนข้อมูลให้คลาดเคลื่อนจากความจริง และจัดทําผลงานตาม “คําแนะนําสําหรับผู้นิพนธ์”

3 ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่ปรากฏอยู่ในผลงานวิชาการ/งานวิจัยของตนเอง ต้องมีความสุจริตทางวิชาการไม่มีการกระทําที่เป็นการลอกเลียน/ แอบอ้างงานเขียน หรืองานสร้างสรรค์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนนํามาใส่ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา (plagiarism)

4 ผู้นิพนธ์ควรพยายามหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) มิให้เกิดขึ้น ทั้งในกระบวนการวิจัย และ/หรือ กระบวนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ความสัมพันธ์นี้อาจเป็นความสัมพันธ์ด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ หรือความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ความสัมพันธ์ทางการเงิน ฯลฯ อันก่อให้เกิดอคติต่องานวิจัยได้ หากผู้นิพนธ์คาดว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนในงานวิจัย ให้เปิดเผยต่อบรรณาธิการวารสารฯ ทราบล่วงหน้า และแหล่งทุนวิจัยจะต้องถูกกล่าวถึงในกิตติกรรมประกาศ

5 ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานตนเองและรับรองว่า ผลงานไม่เคยถูกตีพิมพ์ หรือกําลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด

6 ผู้นิพนธ์ต้องระบุผู้เป็นเจ้าของผลงานวิชาการ/งานวิจัยร่วมทุกคน ระบุบทบาทและสัดส่วนของความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในกรณีที่มิได้มีผู้นิพนธ์คนเดียว                     

7 ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ทําผิดต่อความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ โดยเฉพาะข้อ 2-5 กองบรรณาธิการจะตัดสิทธิ์ การตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี และกองบรรณาธิการวารสารฯ จะแจ้งหน่วยงานที่ผู้นิพนธ์ สังกัดตามแต่กรณี