ผลของการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด ST segment ยกขึ้น ( STEMI )
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ( STEMI )และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะการให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ( STEMI ) กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพเครือข่ายโรงพยาบาลท่าฉาง โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้นสูงกว่าก่อนพัฒนาสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < .001) และมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ( STEMI ) สูงกว่าก่อนพัฒนาสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < .001)
ผลการวิจัยการพัฒนาด้านความรู้ให้แก่พยาบาลชีพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยสามารถกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาความรู้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพในการประเมินคัดกรอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยใช้หลัก OPQRST+R รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการแปลผล และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการ วินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลทันเวลา ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนจากโรค
คำสำคัญ : การพัฒนา สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนิพนธ์ต้นฉบับจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) และการตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
ลิขสิทธิ์
ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ เว้นว่าได้รับอนุญาตจากโรงพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2565] เข้าถึงได้จาก
https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตป ดีไซน์; 2563.
โรงพยาบาลท่าฉาง สถิติผู้ป่วยนอก ปีงบประมาณ 2564-2566. ท่าฉาง: โรงพยาบาล; 2566
Deming, W. E. (2013). The essential Deming: Leadership principles from the father of quality. New York: McGraw-Hill.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
ฉวีพงศ์ บุญกาญจน์. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด
STEMI ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการ
สาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(1):22-34.
Ibanez B, James S, Agewall S. ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). European Heart Journal.2017;39(2):119-177.
ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปณวัตร สันประโคนม. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของ
พยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ.
; 14(1): 43-51.
สุเพียร โภคทิพย์และคณะ. การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด
Streptokinase ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน: โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง
เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560;1(2): 1-19