Publication Ethics
จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
วารสารกระบี่เวชสาร ได้กำหนด จริยธรรมการตีพิมพ์ โดยกำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบทบาทของบรรณาธิการ บทบาทผู้นิพนธ์ และบทบาทผู้ประเมินบทความ รวมถึงการจัดการข้อร้องเรียน เพื่อให้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมการตีพิมพ์ ดังนั้นจึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนัก และปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รวมถึงคุณภาพของบทความ
2. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ตัดสินคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้วโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความชัดเจน และความทันสมัย
3. บรรณาธิการต้องมีระบบปกปิดข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ และไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องล่วงรู้
4. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
5. บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติ ด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง
6. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ
7. บรรณาธิการมีหน้าที่พัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผลงานของผู้นิพนธ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น
2. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับ และดำเนินการตามขั้นตอนของวารสาร เพื่อให้ได้บทความที่มีคุณภาพ
3. ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นหากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้
4. ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
5. ผู้นิพนธ์จะต้องมีการระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาของบทความ
2. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความภายใต้ความถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย และเหตุผลทางวิชาการ ไม่ใช้เหตุผลส่วนตัวหรือมีอคติ
3. ผู้ประเมินบทความควรให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรม และให้แนวทางที่ชัดเจนเป็นประโยชน์แก่ผู้นิพนธ์ในการพัฒนาบทความให้มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ และสามารถเสนอแนะวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความ
4. ผู้ประเมินบทควรให้ความสำคัญกับประเด็นการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากพบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความคล้ายคลึง หรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
5. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด
6. ผู้ประเมินบทความจะไม่ได้ประเมินบทความ ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วมๆหรืออื่นๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ
การร้องเรียน
ในการร้องเรียนบรรณาธิการวารสารนั้น ต้องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไปที่บรรณาธิการโดยตรง กองบรรณาธิการจะพิจารณาตามกระบวนการภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับข้อร้องเรียน และจะแจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบ หากข้อร้องเรียนดังกล่าวไม่ได้รับการดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนต่อโรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการโรงพยาบาลกระบี่ เป็นผู้พิจารณา