โปรแกรมการเสริมสร้างพลัง, อาสาสม ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครชุมชนในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลัง, อาสาสมัครชุมชนป้องกันโรค, โรคไข้เลือดออก

Main Article Content

ลัดดาวรรณ สุวรรณเขต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังของอาสาสมัครชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ โดยศึกษา 2 กลุ่ม ที่มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest Posttest Two Groups Design) โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังของอาสาสมัครชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้เป็นไปตามปกติ


กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คืออาสาสมัครชุมชนในอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ด้วยการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกรณี 2 กลุ่มประชากรที่เป็นอิสระต่อกันคน จำนวน 90 คน และการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ได้แก่กลุ่มทดลองจำนวน 45 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามจำนวน 4 ตอน และมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ 1) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2) ส่วนการรับรู้พลังอำนาจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3) ส่วนการรับรู้ความสามารถของ ตนเองในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ     4) พฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่าค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.97, 0.96, 0.91 และ 0.89 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.97, 0.86, 0.81 และ 0.89 ตามลำดับ และค่าความยากง่ายมีค่าเท่ากับ 0.58, 0.62, 0.77 และ 0.49 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา คือจำนวน  ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์คือ Paired t -test, Independent t-tes t และ Z-test


                      ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การรับรู้พลังอำนาจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ดัชนีภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายและดัชนีการประมาณความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ดังนั้นโปรแกรมการเสริมสร้างพลังของอาสาสมัครชุมชนที่พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน และ 6 กิจกรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมศักยภาพอาสาสมัครชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
สุวรรณเขต ล. โปรแกรมการเสริมสร้างพลัง, อาสาสม ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครชุมชนในการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ : โปรแกรมการเสริมสร้างพลัง, อาสาสมัครชุมชนป้องกันโรค, โรคไข้เลือดออก . Kb. Med. J. [อินเทอร์เน็ต]. 21 กรกฎาคม 2023 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];6(1). available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/261048
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Wongsasuk, N., Peanchana, A., & Akakul, T. A development of the Dengue HemorrhagicFever preventive model in the Communities of Tambon Kumnumsaepin Ubon Ratchathani’s Warinchamrap District. UBRU Journal for Public Health Research. 2016; 41-52.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ โรคไข้เลือดออก.[ออนไลน์] 2564. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph. go.th/ files/report/732528.pdf.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.กระทรวงสาธารณสุข. การเฝ้าระวังโรคติดต่อ. [ออนไลน์] 2565. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/report.php.

Suapumee, N., Chittayanunt, K., Wongrattanarak, W., & Naksrisang, W. Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 2015; 25: 25-39.

Jodking, P., & Bouphan, P. The participation in Dengue Hemorrhagic Fever prevention and control of village health volunteer at Samliam Community Khon Kaen municipality. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 2017; 24: 29-37.

พรพรรณ สุนทรธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการลดปัญหาโรคไข้เลือดออกด้วยทรายที่มีฟอส. วารสารอาหารและยา. 19(3): กันยายน - ธันวาคม 2555.

World Health Organization. WHO specifications and evaluations for public health pesticides [Internet]. [cited 2014 Dec 1]. Available from: http://who.int/whopes/June_2014.pdf

วิชุดา กลิ่นหอม. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังของอาสาสมัครเยาวชนด้านสุขภาพ ในการบริจาคโลหิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พยาบาลศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2559.

Wallerstein, N., & Bernstein, E. (1988). Empowerment education: Freire’s ideas adapted to health education. Health Education Q. 1988; 15: 379-394.

Ritcharoon, P. Social science research methodology. Bangkok: House of Kermyst Co.,Ltd. 2006.

Fraenkel, J. R., & Wallen, N. E. (2000). How to design and evaluate research in education. New York: Mcgraw-Hill Higher Education.

ปฐมพร พริกชู. การสร้างพลังในชุมชนในการควบคุมลูกนำยุงลาย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

จำรัส ศรีปัตตา. การสร้างพลังชุมชนในการควบคุมลุกน้ำยุงลาย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.

จันทิมา วิชกูล. ผลของการสร้างพลังแกนนำครอบครัวโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบส่วนร่วมต่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

ยุทธพงศ์ ภามาศ. การสร้างพลังประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

เกศิณี วงศ์สุบิน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 33(3). ก.ค. - ก.ย. 2559.