ปัจจัยการบริหารงานที่มีผลต่อการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ เขตบริการสุขภาพที่ 11: กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปี พ.ศ 2563-2564

Main Article Content

ประเสริฐ หาญประสานกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารงานการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอเขตบริการสุขภาพที่ 11 กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานที่มีผลต่อการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอเขตบริการสุขภาพที่ 11 กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


                       กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ (SRRT) ของเขตบริการสุขภาพที่ 11 จำนวน 74 ทีม โดยหัวหน้าทีมหรือผู้รับผิดชอบหลักของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ (SRRT) เป็นผู้ให้ข้อมูลทีมละ 1 คน โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ


                       ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ ภาวะผู้นำ และการควบคุม มีระดับความเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเฉลี่ย 3.81  (SD = 0.75) ซึ่งด้านการจัดองค์การมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.14 (SD = 0.77) (2) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน        ทีม SRRT ภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐานจำนวน 70 แห่ง (94.6) และตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด 4 ด้าน อยู่ในระดับพื้นฐานทั้งหมด ได้แก่ ด้านองค์ประกอบด้านความเป็นทีมจำนวน 67 แห่ง (90.5) ด้านความพร้อมจำนวน 51 แห่ง (68.9) ด้านความสามารถการปฏิบัติงานจำนวน 59 แห่ง (79.7)  และด้านผลงานผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานจำนวน 45 แห่ง (60.8) (3) ปัจจัยการบริหารงาน ได้แก่การวางแผน การจัดองค์การ ภาวะผู้นำ และการควบคุมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอเขตบริการสุขภาพที่ 11 กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 55.1, 10.5, 2.7 และ 10.1 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้ง 4 ด้าน อธิบายความผันแปรรวมได้ร้อยละ 68.2 (p < 0.01)


                       ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ ควรมีการศึกษาการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของทีม SRRT ระดับอำเภอโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาระบบงานต่อไป


 

Article Details

How to Cite
1.
หาญประสานกิจ ป. ปัจจัยการบริหารงานที่มีผลต่อการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ เขตบริการสุขภาพที่ 11: กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปี พ.ศ 2563-2564. Kb. Med. J. [อินเทอร์เน็ต]. 8 กรกฎาคม 2022 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];5(1):13-25. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/257445
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2020

สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 11 สถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (Covid-19). (ออนไลน์). 2565. (ค้นหาวันที่ 25 เม.ย. 2563 จาก https://datastudio.google.com/reporting/b6990a26-2a37-4e35-8531-fd2714335a08/page/p_rqx3s2ynsc

แนวทางป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่สำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว SRRT. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

Bartol, K.M. & Martin D. C. Management. NewYork: McGraw - Hill, Inc; 1991.

นันทนา โรจนานุกูลพงศ์. การบริหารจัดการของสาธารณสุขอำเภอในมุมมองของสาธารณสุขอำเภอเองและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัย กรณีศึกษาสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยาานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). พัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.

สุนทร สุริยพงศกร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการบริหารโรงพยาบาลชุม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2553.

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง กรณีศึกษา ธนารคารยูโรบี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยพณิชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

มุทิตา วรกัลยากุล. ความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทย บริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

นเรศ มณีเทศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดสกลนคร . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

สมยศ นาวีการ. การบริหารตามสถานการณ์. สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (ออนไลน์) 2545. (ค้นหาวันที่ 20มค.2564). แหล่งข้อมูล: http://hph.moph.go.th/?modules=Content&action=history#

Buathongrueang, Kannika. & Silarak Siriwan. Guidelines for Development of Internal Control System for the Success of Hotel Business Management in Trang Province. National research presentations The 11th Phuket Rajabhat University. (in Thai); 2018.

Kurniadi, L. & Zio, L. (2011). The Role of Internal Control in the Operation of Hotels. BUSP03 Degree Project, 15 ECTS Master Thesis in Accounting and Auditing, Lund, Sweden, 31 May

Akmese, H. & Gundogan, H. (2020). The role of internal control in hotel business: a research on five-star hotels. Academic Review of Economics and Administrative Sciences, 13(2), 227-241

เพ็ญนภา เชาวนา. ความสัมพันธ์ของการควบคุมภายในกับคุณภาพกำไรของบริษัทในสภาอุตสาหกรรมภาคใต้.การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2560. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

ประพันธ์ สุริหาร. ศัพท์ทางการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 4 .ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2542.

หทัยรัตน์ คงสืบและวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ ปี 5 ฉบับที่ 1. สำนักงานสารณสุขจังหวัดนครราชศรีมา; 2562.

เยาวเรศว์ นุตเดชานันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์การระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (Covid-19). (ออนไลน์). 2563. (ค้นหาวันที่ 31 พ.ค. 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/newsmass.php

ตุลา มหาพสุธานนท์. หลักการจัดการและการบริหาร.กรุงเทพฯ : พ.ศ. พัฒนาจำกัด; 2540.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารงานสาธารณสุข.นครปฐม: สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขอาเซียน; 2540.

ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2539.

นิรัตน์ อิมามี. เครื่องมือการวิจัย. วรางคณนาง ผลประเสริฐ, บรรณาธิการ. สถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2559. หน่วยที่ 9 น. 1-85.

แนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การประเมินผลการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วปีงบประมาณ 2548-2550. รายงานการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ปี 48-51. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

Abraham Maslow: (1908-1970) Maslow’s hierarchy of human needs .(ออนไลน์). 1908-1907. (ค้นหาวันที่ 22 มีค. 2564). แหล่งข้อมูล.http://adisony.blogspot.com/2012/10/abraham-maslow.html

Andersen KG, Rambaut A, Lipkin WI, Holmes EC, Garry RF. The proximal origin of SARS-CoV-2. Nat Med. 2020;26(4):450-2.